วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทที่ 13 สรุป...กิจกรรมร.ร.บ้านแม่นกทำเมื่อปี 2550

เป้าหมายของปี 2550



1.jpg


ผลจากการฝึกของปี 2549 ได้มีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในทักษะด้านต่างๆ ทำให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้น ได้แก่ พัฒนาการด้านภาษา สามารถรับรู้ได้ สื่อสารออกมาได้ เช่น ยิ้ม ดีใจ เป็นต้น เมื่อรวมกันฝึก ภาวะการเจ็บป่วยลดลง หรือบางคนอาจป่วยแต่พอฟื้นกลับคืนมา พัฒนการไม่ถ้อยเหมือนอดีต
ปัญหาต่างๆ ของเด็กได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ปัญหาไม่ได้หยุดเท่านี้ สิ่งสำคัญรองลงมาคือ ผู้ดูแล ซึ่งเห็นว่า เด็กพิการจะดีได้ และได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพต้องมีคนดูแลที่มีคุณภาพทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ

เด็กถึงจะมีคุณภาพได้ ดังนั้นเป้าหมายในปี 50 จึงต้องใส่ใจใน 2 เรื่องใหญ่ด้วยกันคือ
1 เรียนรู้ พัฒนาโปรแกรมสำหรับเด็กให้เหมาะสมกับวัยที่เจริญเติบโต
2) ป้องกันและแก้ไข ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับ “ผู้ดูแลเด็กพิการ” ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ


2.jpg



กิจกรรมตลอดทั้งปี 2550
1. ฝึกประจำทุกวันพฤหัสบดีและศุกร์
มีการฝึกกิจกรรมเหมือนปี 2549 ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ 10.00-14.30 น.

2. กิจรรมให้ความรู้ต่างๆ ที่สำคัญในการเลี้ยงดูและฝึกเด็กตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อแก้ปัญหาจากปี 2549


6.jpg ครั้งที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ วันที่ 15 มีนาคม 2550

วิทยากร : Mr. Mario schuroth ผู้ช่วยแพทย์จากประเทศเยอรมัน
หัวข้อความรู้ : ตอบปัญหาทุกอย่างในสิ่งที่แม่อยากรู้เกี่ยวกับลูก

เนื้อหาในการอบรม
เป็นการถามปัญหาของตัวเอง แล้วให้ท่านวิทยากรเป็นผู้ตอบโดยมีล่ามมาแปลเป็นภาษาไทยให้อีก

ข้อดี
ได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ ยา เข้าใจภาวะเมื่อลูกหงุดหงิด การป้องกันและการแก้ไขเบื้องต้นเรื่องปัสสาวะขัด เทคนิคการเคาะปอด เป็นต้น ทำให้รู้เรื่องราวหลากหลายจากมุมมองจากทั้งพ่อแม่กันเอง และทั้งของวิทยากร และมีการปรับปรุงประยุกต์ใช้กับลูกอย่างเหมาะสม

ข้อเสีย
เวลาน้อย...เพราะต้องเผื่อเวลาไว้แปลด้วย...ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องเวลา


6.jpgครั้งที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ วันที่ 5 เมษายน 2550
วิทยากร : อ.สมทรง จากร.พ.รามาธิบดี
หัวข้อความรู้ : การบำบัดความเครียด

เนื้อหาในการอบรม
เป็นการบรรยายช่วงต้นให้รู้ถึงสภาวะการเครียดเกิดขึ้นมาจากทางไหนบ้าง และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ตัวเองมีเรื่องอะไรที่ทุกข์บ้าง หลังจากนั้นมีการประเมินความเครียดด้วยการกรอกแบบสอบถาม ซึ่งสรุปได้ดังนั้น
มีผู้เข้าร่วม 9 ครอบครัว
6 คน มีสภาวะปกติ ไม่เครียด
2 คน มีสภาวะเครียดปานกลาง
1 คน มีสภาวะเครียดสูงกว่าปกติ



4.jpg




ข้อดี
1. ได้รับรู้ถึงปัญหาของเพื่อนๆ และได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาของเพื่อนๆ ที่แตกต่างกัน
2. ได้ระบายความรู้สึกเครียดที่อยู่ส่วนลึกของจิตใจ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
3. ได้รับรู้ถึงระดับความเครียดตัวเอง ว่าขณะนี้ มีความเครียดมาก น้อยเพียงใด จะได้แก้ปัญหาได้ทัน
4. ได้รู้ถึงวิธีการแก้ไขอย่างถูกต้องจากผู้อบรม
5. ประทับใจในตัวคณะวิทยากรทุกคนที่มอบความรู้ให้ถึงบ้านด้วยความจริงใจ

ข้อเสีย
1 ระยะเวลาในการให้ความรู้สั้นไป อยากให้เวลานานกว่านี้
2. ต้องเผื่อผู้อบรมเพ่ิม ในกรณีป่วยกระทันหัน จะได้มีสำรองทันที เด็กๆ และผู้ปกครองจะได้ไม่เสียโอกาส
3. ผู้ปกครองมาช้า ทำให้วิทยากรต้องรอ...ควรปรับปรุงไม่ให้วิทยากรต้องรอ


6.jpgครั้งที่ 3 กิจกรรมให้ความรู้ วันที่ 11 พฤษภาคม 2550
วิทยากร : อ.ปาริชาติ จากร.พ.รามาธิบดี
หัวข้อความรู้ : กิจกรรมกายภาพ ครั้งที่ 1

เนื้อหาในการอบรม
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในการพบนักกายภาพ ทำให้การเรียนรู้เป็นการสอบถามว่าเท่าที่ผ่านมาได้ทำกายภาพอย่างไรบ้าง พอหลังจากนั้น นักกายภาพก็เริ่มแนะนำในท่าทางต่างที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละคน โดยการเน้นกายภาพควบคู่กับการสื่อสารกับลูก และที่สำคัญต้องมีการทำที่แผ่วเบา อ่อนโยน และให้เทคนิคมากมาย จากคนที่ไม่เคยรู้เรื่องกายภาพ ก็สามารถเข้าอย่างง่าย และคนที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว ก็ได้เทคนิคที่สำคัญไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

ข้อดี
1. ทุกๆ คนได้รับความรู้ใหม่ และได้ทบทวนความรู้เก่า พร้อมเทคนิคที่มากมาย
2. ทำให้พ่อๆ แม่ๆ มีความมั่นใจในการดูแลลูกมากขึ้น
3. ในการอบรม นักกายภาพจะบอกถึงเป้าหมายในการฝึกลูกเสมอ ทำให้รู้หลักได้อย่างง่ายๆ
4. สามารถแก้ปัญหาเรื่องการเจาะจออย่างได้ผล พ่อแม่เข้าใจอย่างถูกวิธี

ข้อเสีย
1. ผู้ปกครองมาไม่พร้อมเพรียงกัน ทำให้นักกายภาพต้องคอย...เสียโอกาสในการฝึกไป
2. เวลาในการให้ความรู้น้อยไป อยากเพ่ิมให้มากกว่านี้


6.jpgครั้งที่ 4 กิจกรรมทบทวนความรู้เดิม วันที่ 21 กรกฏาคม 2550
วิทยากร...พ่อแม่เก่าที่มีความรู้เรื่องโดสะโฮ
ห้วข้อความรู้ : กิจกรรมโดสะโฮ

เนื้อหาในกิจกรรม
เนื่องจากผู้ปกครองเก่าหลายคนได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม โดสะโฮ จากวิทยากรญี่ปุ่นมาหลายปี แต่ความรู้ยังอยู่เท่าเดิมไม่กระจายไปยังผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม ดังนั้น การทบทวนกิจกรรมโดสะโฮครั้งนี้มีเป้าหมายว่า
1. ทบทวนความรู้เก่าโดยพ่อแม่ฝึกลูกตัวเอง
2. ฝึกการบรรยายโดยคนเก่าสามารถบรรยายเป็น และคนใหม่เข้าใจการบรรยายได้
3. ฝึกเปลี่ยนลูก เพื่อให้เกิดทักษะไม่เฉพาะกับลูกตัวเองเพื่อเตรียมช่วยเหลือเด็กคนอื่นต่อไปอีก
4. ตอบปัญหาสงสัยซักถาม-ตอบ โดยคำถามมาจากพ่อแม่ใหม่ที่ยังไม่เคยฝึกอบรมเลย และพ่อแม่เก่ามาช่วยกันตอบปัญหา โดยมีครอบครัวผ่านการฝึกอบรมมา 4 ครอบครัว และครอบครัวไม่ผ่านการฝึกอบรมมา 3 ครอบครัว

ข้อดี
1 ได้ฝึกบรรยาย
2. ได้ฝึกการแลกเปลี่ยนลูกของกันและกัน
3. เข้าใจในการจัดโปรแกรมมากขึ้นว่าอะไรควรทำก่อนหลัง
4. แม่ใหม่เข้าใจและสนใจ สามารถไปใช้ได้จริง
5. แม่เก่า ความรู้แน่นขึ้น และมีความมั่นใจมากขึ้น
6. ได้ความรู้ใหม่จากการ ดึงความคิดเห็นของแต่ละคน
7. แม่นกเข้าใจและเห็นปัญหาที่แท้จริงของกิจกรรมโดสะโฮ
8. เห็นพัฒนาการของแม่มือเก่าอย่างชัดเจน
9. เด็กๆ สามารถอยู่ได้ในกิจรรมทั้งวันโดยดูจากเด็ก ไม่ร้องไห้ งองแง
10. มีการทำงานเป็นทีมเวิรค์อย่างดี


5.jpg



ข้อเสีย
1. ต้องจัดช่วงบรรยายให้มากกว่านั้น โดยเฉพาะแม่ๆ ใหม่ที่ยังไม่มีทักษะ
2. ต้องแก้ปัญหาแผ่นรองพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการฝึก
3. ต้องมีพักเบรค สัก 2 ช่วง เพื่อเปลี่ยนอริยาบทของแม่ๆ ลูกๆ

6.jpgครั้งที่ 5 กิจกรรมให้ความรู้ วันที่ 14 มิถุนายน 2550
วิทยากร : จากร.พ.พระมงกุฏ โดยร.พ.รามาธิบดีเป็นผู้เชิญมาบรรยาย
หัวข้อความรู้ : การจัดท่าทางสำหรับผู้ปกครองในการดูแลเด็กพิเศษ

เนื้อหาในกิจกรรม
เนื่องจากเด็กเริ่มโตวันโตคืน ทำให้ผู้ปกครองมีปัญหาเรื่องปวดหลัง บวกกับยังไม่ได้ความรู้ที่แท้จริงจากไหน ว่าอุ้มอย่างไรเราจึงจะปลอดภัย ดังนั้นในเนื้อกิจกรรมจึงเน้นและได้ความรู้เยอะ เช่น วิธียกเด็กอย่างไรที่มีน้ำหนักมาก จึงจะปลอดภัย วิธีแก้ปวดหลัง วิธีเคลื่อนย้ายไปวิวแชร์อย่างถูกต้อง จัดการอย่างไรกับการปวดหลัง ปวดไหล่ การดูแลรักษาการอักเสบของกล้ามเนื้อ วิธีแก้ปวดหลังแบบง่ายๆ ความรู้เรื่องยาแก้เคล็ดขัดยอก วิธีบริหารท่าปวดหลัง วิธีเช็กว่าตัวเองเกร็งหัวไหล่หรือเปล่า เป็นต้น เป็นการบรรยายไป ทำไป โดยเน้นทำให้เห็นภาพ

ข้อดี
1. ได้ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการดูแลตัวเองและการเคลื่อนย้ายเด็กอย่างถูกต้อง
2. รู้เทคนิคต่าๆ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
3. มีความรู้บางอย่างที่เข้าใจผิดมาโดยตลอด ทำให้รู้จริงและระวังตัวได้มากขึ้น

ข้อเสีย
1. จัดกิจกรรม นัดผู้ปกครองแล้วแต่ถึงวันงาน มักมีเด็กป่วยกระทันหัน
2. เนื้อหาสาระดี แต่เวลาน้อยเกินไปทำให้ต้องฟังอย่างเร่งรีบ


6.jpgครั้งที่ 6 กิจกรรมให้ความรู้ วันที่ 3 สิงหาคม 2550
วิทยากร...อ.ปาริชาติ จากร.พ.รามาธิบดี
ห้วข้อความรู้ : กิจกรรมกายภาพ ครั้งที่ 2

เนื้อหาในกิจกรรม
เป็นการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 ของปี แต่ถึงแม้ว่าจะมาครั้งที่ 2 ความรู้ที่ได้ก็ยังรู้ใหม่อยู่เสมอ อาจเป็นเพราะเมื่อเราแก้ไขเรื่องอาการเกร็งของลูกได้ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนก็ยังมีปัญหาเหมือนเดิม เพราะกลุ่มที่บ้านเป็นเด็กพิการรุนแรง จึงทำให้ความรู้ที่ได้แปลกไปจากครั้งที่1 อย่างสิ้นเชิง วิธีการดำเนินกิจกรรมก็สอน และให้ทำตามอย่างง่ายๆ


ข้อดี
1. ทบทวนความรู้ที่ได้จากครั้งที่ 1
2. ได้ความรู้ใหม่ โดยเฉพาะท่าที่ทำให้ข้อสะโพกแข็งแรงและการกลิ้งบอล
3. มีผู้ปกครองใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการอบรมมา ทำให้ผู้ปกครองเก่าได้มี โอการฝึกการถ่ายทอดด้วย
4. ความรู้ที่ได้รับแม้ว่าเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี แต่ก็ไม่ซ้ำกันเลย ทำให้รู้สึกว่า ยังมีความรู้อีกมากที่รอเราศึกษาอยู่

ข้อเสีย
1. วันนี้ผู้ปกครองมาเยอะ ทำให้ความรู้ที่ได้ไม่ค่อยทั่วถึง
2. เวลาในการให้ความรู้น้อยเกินไป ควรเพิ่มมากกว่านี้
3. อาหารสั่งน้อยเกินไป
4. เด้กป่วยเยอะ เลยทำให้ต้องงดกิจกรรมช่วงบ่าย



6.jpgครั้งที่ 7 กิจกรรมให้ความรู้ วันที่ 7 กันยายน 2550
วิทยากร...อ..............จากร.พ.รามาธิบดี
ห้วข้อความรู้ : การดูแลเรื่องยาชัก หอบ

เนื้อหาในกิจกรรม
เป็นการถาม-ตอบ ในประเด็นเรื่องของการชัก การหอบ เพราะเด็กกลุ่มของเราทุกคนต้องผ่านเรื่องชัก ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องนี้ถึือว่าสำคัญมาก เพราะจะทำให้เด็กปลอดภัยก่อนส่งถึงมือแพทย์ เมื่อลูกชัก หรือหอบ ในกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเชิงถาม-ตอบ และให้ความรู้ใหม่ๆที่พ่อแม่หลายคนไม่เข้าใจที่แท้จริง เพราะไม่ได้เรียนมา แต่ศึกษาจากอาการของลูก ดังนั้นจึงต้องเสริมส่วนที่ไม่รู้เข้าไป

ข้อดี
1. ได้เข้าใจวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้น ว่าหอบต้องทำอย่างไร ชักต้องทำอย่างไร
2. ได้รู้ผลข้างเคีียงของยาแต่ละชนิด จากคำถามของพ่อแม่หลายๆคน
ข้อเสีย

1. สมาชิกเริ่มเพ่ิมเยอะขึ้น...จนเนื้อที่ในบ้านเล็กลงอย่างถนัดตา
2. ความรู้เริ่มได้ไม่ทั่วถึง เพราะกลุ่มใหญ่ขึ้น



6.jpgครั้งที่ 8 กิจกรรมให้ความรู้ วันที่ 12 ตุลาคม 2550
วิทยากร : อ.ปาริชาติ จากร.พ.รามาธิบดี และเชฟจากรร.สันติบุรีรีสอร์ท (เกาะสมุย) คุณสุชัญญา ธีระปรีชากุล
ห้วข้อความรู้ : กิจกรรมกายภาพ ครั้งที่ 3 และการให้ความรู้เรื่องโภชนการ

เนื้อหาในกิจกรรม
เนื่องจากการจัดกิจกรรม 2-3 ครั้งหลังมีผู้เข้าร่วมอบรมมากเกินไปจนทำให้ความรู้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นจึงต้องควบคุมปริมาณของผู้ปกครองให้น้อยลง ดังนั้น กิจกรรมครั้งนี้จึงมีผู้เข้าร่วม 9 ครอบครัว
โดยเน้น ผู้ปกครองใหม่ที่ยังไม่เคยได้ฝึก ในวันนั้นมีการเน้นกายภาพเรื่อง การกลิ้งบอลเป็นหลัก ให้รู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการกายภาพกลิ้งบอล และได้รับความช่วยเหลือจากร.พ.รามาธิบดี บริจาคบอลให้ที่บ้าน 2 ลูก เราเลยแบ่งปันให้กลุ่มเพื่อนที่มาจากธนบุรี 1 ลูก เพื่อให้กลุ่มศูนย์ที่นั่นได้มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้น

และให้ความรู้เรื่องโภชนาการ 1 ชม. เนื่องจากผู้ปกครองหลายคนกังวลว่าลูกผอม และกลัวลูกจะขาดสารอาหาร วิทยากรที่เชิญมาให้ความรู้ ทำงานเป็นเชฟและไปอบรมทั้งในและต่างประเทศ ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการแต่งหน้าอาหาร การทำอาหารเพื่อสุขภาพ การปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และการประยุกต์อาหารมีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นต้น แต่เนื่องจากเวลาที่จัดมีอยู่อย่างจำกัด จึงไม่สามารถบรรยายได้ครบถ้วน ดังนั้นจึงถ่าย VDO ไว้เพื่อให้แม่ๆ ได้ทำความเข้าใจอย่างละเอียด รวมถึงเทคนิคการปรุงอาหารให้ถูกปากเด็กๆ ด้วย


3.jpg



ข้อดี
1. ได้ความรู้ทั้งเรื่องกายภาพ และเรื่องโภชนาการอาหาร

ข้อเสีย
1. เวลาน้อยแต่กิจกรรมแน่นเกินไป

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทที่ 12 เมื่อไหร่ถึงเวลาต้องใส่...สปริ้นมือ

สปริ้นมือ...คืออะไร

สปิ้นมือเป็นกายอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่บังคับมือเด็กให้อยู่ในลักษณะมือไม่บิด ผิดรูป
เด็กบางคนใส่เพราะ ข้อมือเริ่มคดงอ เป็นผลสืบเนื่องจากอาการเกร็ง
เด็กบางคนใส่เพราะ กำมือตลอดเวลา จนทำให้ปลายนิ้วจิกเข้าเนื้อตัวเอง
หรือเหตุผลอื่นๆ อีกมากมายที่แขนบิดผิดปกติ จนต้องใช้สปิ้น เพื่อช่วยให้มืออยู่ในรูปปกติมากที่สุด

คำถามคาใจที่ว่า...เราก็ทำกายภาพลูกอยู่ตลอดเวลา มีทั้งทักษะ และเวลาฝึกลูก แล้วทำไมเรายังคงต้องใส่อยู่

ก็เพราะว่า เราไม่สามารถช่วยลูกได้ 24 ชม. เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยทุนแรง ในระหว่างที่ไม่ได้ฝึก
ด้วยเพื่อจะได้ช่วยอีกทาง

สปริ้นมือ มีหน้าตาหลายแบบ ต่างแตกกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ใส่เพื่อแก้ปัญหามือบิดงอ เหมือนกันรถยนต์
ที่มีหน้าตา ไม่เหมือนกัน บางคันถูก บางคันแพง...แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ เมื่อสตาร์ทแล้ววิ่งได้ทุกคัน

สปิ้นของลูกหิน แม่ทำฟรีที่ศูนย์สิรินธร ฟรี...เดี๋ยวหัวข้อหน้า เราจะมาบอกว่าทำอย่าง เด็กพิการถึงได้ของดี มาใช้ฟรี
แต่ตอนนี้ เราไปดูกันก่อนว่า “เมื่อไหร่ถึง...เวลาต้องใส่...สปริ้นมือ”

นี่เค้าเรียกว่า สปริ้นมือ ซึ่งทุกอันที่ทำต้อง หล่อมาจากมือของเด็ก
เหตุผลของลูกหินคือ ลูกชอบกำมือ ไม่สามารถคลายมือได้เอง กำตลอดเวลา 24 ชั่วโมง จะคลายก็ต่อเมื่อ
ฝึก ทำกิจกรรมให้เค้าเท่านั้น...เราก็ไม่สามารถจะนั่งคลายมือลูกได้ตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องหาอุปกรณ์มาช่วยเสริมกันอีกที

1.jpg




มือลูกหิน...ท่าประจำที่ไม่ได้ฝึก...เค้าจะกำตลอดเวลา

2.jpg




ใส่ตามที่เห็นในภาพเลย

4.jpg




สปริ้นของลูกจะมีสายรัด 3 เส้น

5.jpg




ใส่เสร็จแล้ว หน้าตาจะเป็นอย่างนี้ นี่เป็นด้านหน้าแขนของลูก

6.jpg




นี่คือด้านหลังแขนของลูก

7.jpg




ใส่เสร็จทั้ง 2 ข้าง วันแรกๆ ใส่ลูกร้องไห้เลย เหมือนมีอะไรไปบังคับไม่ให้เค้ากำมือ
แต่ลูกก็ต้องทน เพราะเรากำลังช่วยเค้าอยู่

8.jpg




ใส่สัก 1 ชม. ก็ถอนออก เพราะใส่มากลูกก็เจ็บ ฉะนั้นเราเป็นแม่ ต้องรู้ว่าอะไรสายกลางสำหรับลูก

13.jpg




หลังจากถอดออก มือลูกก็คลายไปได้บ้าง

9.jpg




ภาพเปรียบเทียบก่อนใส่สปริิ้นกับหลังใส่สปริ้น

ก่อนใส่สปริ้น

10.jpg




หลังใส่สปริ้น

11.jpg




ทีนี้พอจะนึกภาพออกแล้วใช่ไหมค่ะ ว่าสปริ้น มีความสำคัญกับมือของลูกอย่างไร

บทที่ 11 ปัญหายากๆ เรื่องเจาะคอลูก แก้ง่ายๆ ด้วยท่ากายภาพ

คืนวันที่ 5 พ.ค. 2550 เวลา 23.10 น. ฉันนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เพราะนึกถึงเรื่องราวอนาคต ที่ต้องเผชิญหน้า อย่างคนตาบอด แม้หนทางข้างหน้าจะมองไม่เห็น แต่ฉันต้องทำใจดีสู้เสือ กับเหตุการณ์ที่น่ากลัว กำลังจะมาถึง


_MG_4001.jpg

ฉัน...สามี และลูกหิน พวกเราพึ่งมีความสุข ในการพาลูกหินไปเที่ยวพัทยา เมื่อวันสงกรานต์ที่ผ่านมา กับการใช้ชีวิตปกติเหมือนคนธรรมดาทั่วๆ ไป โดยไม่เคยคิดว่าลูกของเราป่วยหนัก พิการหนัก แต่อย่างใด แต่ก็แอบกังวลอยู่บ้าง กลัวว่าการไปเที่ยวจะทำให้ลูก...ป่วย... แต่ที่ไหนได้ ลูกหินนอนหลับ แถมเลี้ยงง่ายกว่าอยู่บ้านตั้งเยอะ เพราะสังเกตุได้ว่า ลูกหินกินง่าย นอนง่าย หลับสบายตลอดทั้งคืน ไม่ตื่นเลย แม้กระนั้นเราก็ไม่เคยละเลยกิจวัตรประจำวันที่สำคัญของลูก ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน หรืออยู่ที่ไหนๆ ฉันและสามี เราก็ทำกิจวัตรประจำวัน สม่ำเสมอ จนครั้งนั้นฉันได้พบเคล็ดลับความสุขมากมาย สำหรับลูกและครอบครัวคนพิการอย่างเรา


_MG_4041.jpg

พอกลับมาจากพัทยาไม่นาน ... ลูกหินก็มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น มันเป็นอาการใหม่ๆ แปลกๆ ที่ฉันไม่เคยเห็นมาก่อน ลูกหายใจยากขึ้น หายใจติดๆ ขัดๆ และยิ่งเวลากลางคืน ก็จะกรนเสียงดังมาก คราวกับผู้ใหญ่ก็ไม่ปาน ซึ่งจริงๆ แล้ว มันเหมือนอาการธรรมดาของคนทั่วๆ ไป แต่ฉันคิดว่า อาจมีอะไรมากกว่าที่เห็น เพราะสำหรับลูก เราประมาทไม่ได้แม้เสียววินาที

กลางคืนฉันเฝ้านอนดูอาการ...หลับบ้าง ไม่หลับบ้าง เพื่อฟังเสียงลูกกรน บางทีก็มีหยุดหายใจประมาณ 3-5 วินาที บางทีก็หายใจเข้า 3 ครั้ง หายใจออก 1 ครั้ง เหมือนมีอะไรไปกั้นรูจมูกลูก ฉันต้องคอยจับพลิกตัว บางทีก็ปลุกให้ตื่นขึ้นมาหายใจบ้าง เพราะกลัวลูกจะหยุดหายใจไปเฉยๆ

ส่วนกลางวันก็ไปทำงานตามปกติ ...จน... ร่างกาย ฉันเริ่มอ่อนเพลีย อ่อนล้า ลง อย่างเห็นได้ชัด แต่ใจก็ยังสู้อยู่ เพราะรู้ว่าต้องมีอะไรใหม่ๆ ที่ยังไม่รู้แน่ๆ คงเป็นโรคใหม่ อาการใหม่ๆ ที่ยังไม่คุ้นเคย ได้แต่เฝ้าดู และเก็บอาการความเคลื่อนไหนของลูกทุกลมหายใจ เพื่อเป็นข้อมูลไปหาคุณหมอ....จากนั้น


_MG_3910.jpg


ฉันเริ่มหาหมอเฉพาะทาง แผนก ตา คอ หู จมูก ในเด็ก ....ต้องรู้ให้ได้ว่าลูกหินเป็นอะไรกันแน่ ทำไม หายใจยากขนาดนี้ลูกแม่...และคิดว่าคงต้องใช้พลังมาก ทั้งแรงกาย และแรงใจ กลางวัน ทำงาน กลางคืน นอนเฝ้าเก็บอาการของลูก พอว่างปุ๊บก็ต้องคิดหาวิถีทางที่จะรักษาลูก เป็นแบบนี้ มา 2 อาทิตย์...จน... วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2550 ฉันมีนัดกับเพื่อนที่เค้าอยากช่วยทำหนังสือของลูกหินเพื่อเผยแพร่ให้หลายๆ คนได้รับรู้ เค้าน่ารักมาก ยินดีช่วยเต็มที่ และฉันซิสมองไม่ค่อยสั่งงานสักเท่าไหร่ เพราะเหนื่อยและเพลียเหลือเกิน

หลังจากเสร็จธุระกับเพื่อน ฉันรู้สึกแย่มาก คิดว่าตัวเองหิวข้าว ก็รีบไปกิน พอกินปุ๊บ ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ ...จึงรีบขับรถกลับบ้าน เท่านั้นแหละ อาการทุกอย่างทรุดหนักลงไปอีก เวียนหัว อยากอ้วก แต่ฉันกำลังขับรถอยู่คนเดียว ถ้าจะจอดขอความช่วยเหลือก็กลัวจะเจอคนไม่ดี จะโทรหาสามี ก็ไม่ทันการ ทำอะไรไม่ถูกแล้ว รู้อย่างเดียวว่า ต้องรีบขับไปร.พ.ที่ใกล้ที่สุด นั่นแหละคือทางรอด แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในชีวิตคือ อุบัติเหตุ ฉันกลัวมันมาก และไม่กล้าคิด...เพราะคืนนั้น ฝนตกหนัก รถติดมาก ฉันขับรถเหวี่ยงไป เหวี่ยงมา ราวกับคนเมาแล้วขับ ก็มันไม่สติแล้ว จะทำยังไงดี บอกตัวเอง พยายามรวบรวมสติครั้งสุดท้าย ประคองรถไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเท่านั้น... น้ำตาเริ่มไหล อาบ 2 แก้ม ฉันต้องทำให้ได้ ต้องผ่านครั้งนี้ไปให้ได้ น้ำตาเป็นเพื่อนที่ดีในยามเศร้า มันทำให้ฉันคลายเครียดลงไปได้บ้าง

คุณพระเจ้าขา...ช่วยคุ้มครองลูก...ให้ไปถึงร.พ. อย่างปลอดภัยด้วยเถอะเจ้าค่ะ นั่นคือสิ่งที่ฉันภาวนาตลอดทาง


IMG_4050.jpg


ฉันมาถึงร.พ.อย่างปลอดภัย ด้วยอาการสบักสบอม เหมือนลูกหมาตกน้ำ หมอบอกว่า ร่างกายเสียสมดุลย์ อาจจะพักผ่อนไม่เพียงพอ ในใจตอบหมอว่า ถูกต้องแล้วคร๊าบ บบบบ เพราะไม่ได้นอนมา 2 อาทิตย์เต็มๆ ฉันนอนร.พ. 3 วัน 2 คืน กลับมาบ้านอย่างปลอดภัย แต่อาการของลูกยังไม่ได้รับการแก้ไข ...ลูกยังคงหายใจไม่ออกเช่นเคย

เราพาลูกไปหาหมอที่ฉันสืบเสาะมาแล้วว่า ดี และเก่งระดับหนึ่ง ผล : ยังเกาไม่ถูกที่คัน เลยต้องไปหาอีกหมอ คือหมอระบบทางเดินหายใจในเด็ก แต่ก็สามารถช่วยทุเลาอาการของลูกได้บ้าง หมอท่านแรกบอกว่า ต่อมอดีนนอยโตแต่ไม่มากจนไปเบียดทางเดินหายใจ เพราะดูจากฟิล์มเอกซ์เรย์ เลยให้ยาพ่น เพื่อให้ยุบลงบ้าง แต่ต้องไปพบหมออีกท่าน

5 พ.ค. 2550 พบหมอทางเดินหายใจในเด็ก เราเข้าไปคุยประมาณ ครึ่งชม. เห็นจะได้ ก็ได้ประจักว่าลูกหินเป็นอะไร !!
ลูกหินเป็นเด็กสมองพิการ ทำให้เคลื่อนไหวตัวเองไม่ได้ นั่งเองไม่ได้ เดินไม่ได้ พูดไม่ได้ กินเองก็ไม่ได้ สื่อสารอะไรไม่ได้ทั้งนั้น นอกจากนี้แล้ว ยังทำให้เป็นอีกหลายๆ โรคในอดีตที่เจอมาแล้ว เช่น ตับอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกร็ดเลือดต่ำไม่ทราบสาเหตุ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุด ก็คือ ลูกหินจะหายใจเองไม่ได้ อาจต้องเจาะคอเพื่อช่วยในการหายใจ ทำไมโรคนี้ ช่างโหดร้ายกับหนูจังเลยลูก หนู เป็นมากขนาดหายใจเองไม่ได้เลยหรอ

หมอบอกว่า กล้ามเนื้อคออ่อน ไม่แข็งแรง เลยไปปิดทางเดินหายใจ จึงหายใจลำบาก ก็เพราะสมองเสียนั่นเอง สมองทำให้คอไม่แข็ง คอไม่แข็ง เลยเป็นกล้ามเนื้อที่อ่อนปวบเปียก ไปปิดทางเดินหายใจ... มีอะไรที่ยากกว่านี้ไหม...มันเจ็บจนชินชาไปหมด เหมือนคนโดนตบหน้า ที่ตบซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า จนตบเท่าไหร่ก็ไม่เจ็บ .. ฉัน น้าจิตร สามี อาการเดียวกัน คือ อึ้ง พูดไม่ออก

ฉันไม่เศร้า... แต่มันชาๆ พูดไม่ออก บอกไม่ถูก ในใจมีแต่การต่อสู้... สู้อย่างไม่มีข้อแม้...บอกลูกว่า ไม่ต้องกลัว ลูกหินเชื่อใจแม่น่ะ แม่จะขอสู้กับโรคใหม่ของหนูอีกสักตั้ง แม่ต้องชนะ แม่จะหาความรู้ จากทุกที่ ทุกทาง เพื่อช่วยหนู ให้หายใจสะดวก โดยไม่ต้องเจาะคอ แม่ทำสำเร็จมาตั้งหลายเรื่องแล้วและครั้งนี้ แม่ต้องชนะให้ได้หนูกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรงแม่ต้องให้หนูคอแข็งให้ได้

หลังจากรู้...ว่าลูกชาย เป็นอะไร ทำไมหายใจ หายคอ ไม่ออก พวกเราก็ถึงบางอ้อ...
ว่าเกิดจากสมอง ส่วนควบคุมการหายใจ มีปัญหาเช่นกัน...
เห็นโจทย์แล้ว...เวลาต่อจากนี้ คือเวลาแก้ปัญหาเท่านั้น...

โชคดีที่ตั้งแต่ลูกหินเกิดมา...ไปฝึกที่ไหนๆ แม่จะนำวิดีโอ ติดตัวเสมอ จะถ่ายวิดิโอ...อัดเก็บเป็นเรื่องเป็นราว ตลอด 5 ปีเต็ม จึงมีวิธีการต่างๆ มากมายที่สามารถนำกลับมาดูได้อีก
วันที่ 10 พ.ค. 2550 เป็นวันเตรียมงานสำหรับ ...โรงเรียนบ้านแม่นก เชื่อมั้ย...วันนั้น เหนื่อยมากๆ เพราะ
1. วันนั้นงานบริษัทเยอะมาก
2. งานส่วนตัวก็เยอะ แยะ เต็มไปหมด
3. ทำสรุปเอกสาร และอัดวิดีโองานเก่าที่ผ่านมา เพื่อให้วิทยากร พร้อมบทสรุป
4. จัดเตรียมความพร้อม สำหรับงานวันพรุ่งนี้ เช่น นัดนักกายภาพ, นัดกับผู้ปกครองทุกท่านที่จะเข้าร่วมงาม, เตรียมเรื่องน้ำ นม อาหารว่าง อาหารกลางวัน สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และที่สำคัญ แม่ยอมเหนื่อยเตรียมงาน เพื่อให้ทุกๆ คน มีสมาธิกับความรู้ที่นักกายภาพนำมาทอดถ่ายให้ฟัง แล้วกลับไปใช้กับลูกให้มากที่สุด
พูดได้ว่า ทุกนาที...ผ่านไปอย่างมีคุณค่า

สุดท้าย คืนวันที่ 10 ฉันบอกสามีให้รีบนอน เพราะพรุ่งนี้เช้า ต้องตื่นมาจัดเตรียมสถานที่ช่วยน้าจิตร จากนั้น เราถึงจะไปทำงานกันตามปกติได้
เมื่อวันงานผ่านมาถึง ตอนเย็น ฉันโทรหาเพื่อนๆ ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ว่า เป็นอย่างไรบ้าง เพราะตัวเองไม่ได้อยู่ทำกิจกรรมด้วย (ทั้งที่อยากอยู่ใจจะขาด แต่ต้องเก็บวันลาไว้ ที่สำคัญจริงๆ)

ผลออกมาว่า...ทุกคนพูดตรงกันว่า ดีมากๆ ได้ความรู้เยอะจริง รู้สึกถึงคุณค่าที่เจ้าหน้าที่จากร.พ.รามาธิบดี ตั้งใจมามอบให้...ซึ่งฉันก็ได้แต่รู้สึกดีตามเพื่อนๆ แต่ก็ยังไม่รู้ว่า ดีอย่างไร รู้แต่ว่าเอิบอิ่มหัวใจ ที่พวกเค้าชอบ โดยเฉพาะแม่แยม บอกว่าไม่เสียดายเวลาจริงๆ ที่หนีงานมาหาความรู้...เพราะฉันรู้ว่า เด็กๆ ทุกคน กว่าจะออกจากบ้านได้ พวกเค้าต้องเตรียมตัวมากขนาดไหน...เพราะฉะนั้น ฉันต้องให้เค้าได้ประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่มาแล้ว ได้ความรู้แค่น้ำจิ้ม กลับบ้าน ...อย่างนั้นมันไม่มีประโยชน์เลย


_MG_3963.jpg



พอกลับมาจากที่ทำงาน...ฉันเปิดวิดีโอ ที่ให้น้าจิตรถ่ายให้ดู ถึงได้รู้ว่า
โอ้โห...มันมีประโยชน์มากจริงๆ สำหรับเด็กพิการทางสมอง เพราะว่าคนที่มีพื้นฐานทางกายภาพแล้ว จะทำให้รู้ซึ้งเข้าใจอีก หรือสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานเลย ก็จะเข้าใจว่า ทำไมมันถึงสำคัญมากที่เราต้องทำ... มีเกร็ดเล็ก กร็ดน้อย เต็มไปหมด แล้วที่สำคัญเราได้ความรู้หลายมิติ เพราะเพื่อนแต่ละคนปัญหาก็ไม่เหมือนกัน ต่างคนก็ต่างถามนักกายภาพจึงทำให้พวกเราช่วยกันเติมให้กันจนเต็ม

ลูกหินได้ท่ากายภาพ ให้กล้ามเนื้อคอแข็งแร็ง ที่ทั้งสามารถป้องกันและแก้ปัญหาในอนาคตที่ต้องถูกเจาะคอได้อย่างปลิดท้ิง...ท่าต่างๆ ของกายภาพ ทำให้ลูกหินไขมันคอน้อยลง คอแข็งแรงขึ้น...ปอดก็เลยพลอยแข็งแรงตามไปด้วย...

ฉันดูวิดีโอ แล้วแกะเอาข้อความสำคัญ ออกเป็นข้อๆ ในมุมของตัวเอง และยังคิดต่ออีกว่า จะทำวิดีโอ เป็น DVD แล้วจะส่งให้เพื่อน ๆ เผื่อลืม หรือไม่มีเวลาจด พอเห็นจะได้จำแม่นขึ้นมา คุ้มเหลือเกินกับแรงที่ตั้งใจทำ ตั้งใจให้...แค่คิด ฉันก็รู้สึกสุขใจอย่างบอกไม่ถูก

และสิ่งเหล่านี้แหละ ...?เป็นของขวัญอันล้ำค่า ที่ฉันทำ และมอบให้ตัวเองในวันเกิดที่ผ่านมา 13 พ.ค. 2550 ปีนี้ อายุ 35 แล้ว เป็นวันดี ที่เริ่มต้นอายุด้วยการทำความดี

มันเป็นเรื่องบังเอิญ หรือโชคเข้าข้างเรา ไม่รู้...เพราะลูกกำลังมีปัญหาเรื่องการหายใจ..ที่บ้านเรามีการจัดอบรม...กายภาพสำหรับเด็กๆ ทุกคนพอดี ...ฉันยังไม่ได้ถามแม่ๆ คนอื่นว่าหลังจากที่ได้โปรแกรมล่าสุดแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เห็นก็แต่พัฒนาการของลูกคนเดียว
วันนั้นฉันพูดบอก ให้ลูกมั่นใจว่า แม่คนนี้ต้องค้นหาทางที่จะช่วยลูกไม่ให้โดนเคาะคอ...วันนี้มันเริ่มเป็นรูป เป็นร่างขึ้น..เราเริ่มแก้ปัญหาตรงจุดด้วยการภายภาพให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง ลดไขมันบริเวณลำคอให้น้อยลง

เรามาดูกันด้วยภาพดีกว่า ว่าท่าง่ายๆ เหล่านี้แหละที่สามารถทำให้ลูกไม่ต้องเจ็บตัว แม่ก็ไม่ต้องทรมานใจด้วย

จะให้ดีลงทุนทำเบาะสามเหลี่ยม โดยไปจ้างร้านทำเบาะทั่วๆไป เบาะที่แม่ทำประมาณ 500 บาท


1.jpg




ขนาดของเบาะสามเหลี่ยมที่บ้าน กว้าง 65 ซม. สูง 20 ซม. หนา 5 ซม.

2.jpg




จับตัวลูก โดยเน้นวางให้หน้าอกพอดีกับเบาะ เพราะการวางแบบนี้เด็กจะหายใจไม่ถนัด ทำให้เค้าต้องพยายามหายใจให้ได้
จึงทำให้ปอดแข็งแรงโดยปริยาย เป็นการป้องกันเรื่องเสมหะพันคอด้วอีกทาง

3.jpg





พยายามให้มือของลูกกางออก อย่าให้เค้ากำมือ เพราะเด็กต้องเรียนรู้ว่า มือจะใช้ได้ดีต้องกางออก

4.jpg





• ท่าที่ 1 มือด้านหนึ่งจับหน้าผากเด็ก มือของเราอีกด้านหนึ่งจับคาง แล้วนับดังๆ ให้ลูกรู้ว่าเรากำลังฝึกเค้าว่า หนึ่ง

5.jpg





• ท่าที 2 ค่อยๆยกคอลูกให้ขึ้น แต่อย่าพึ่งให้สุดคอ พร้อมนับ สอง ดังๆ

6.jpg





• ท่าที่ 3 ค่อยๆ ยกให้สุดคอ พร้อมใช้มือประคอง แล้วนับสาม ดังๆ
7.jpg





ทำท่า 1-3 แบบนี้ สัก 10 รอบ วันละหลายๆ ครั้ง โดยครั้งแรกๆ เราก็ทำนำล่องไปก่อน...แล้วหลังจากนั้น ลองนับแค่เสียง แต่ไม่ต้องช่วยยกให้ลูกทำเอง ต้องพยายามทำให้บ่อยๆ ลูกหินฝึกหลายเดือนกว่าเค้าจะยกได้เอง เพราะฉะนั้นเราต้องอดทนและรอคอยให้ลูกทำเองได้
เมื่อเค้าทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องเสียใจ...จงทำไปเรื่อยๆ แล้วสักวันหนึ่งเค้าจะยกได้เอง ถ้าเราพยายามมากพอเหมือนลูกหิน

10.jpg





8.jpg


แต่ถ้าครอบครัวไหนไม่ค่อยมีทุนทรัพย์ในการหาเบาะสามเหลี่ยม ก็สามารถหาหมอนที่เราหนุนหัวอยู่เป็นประจำนี่แหละ ก็สามารถ
ใช้ทดแทนกันได้...และได้อย่างดีด้วย เราลองมาดูกันดีกว่า




เหมือนเดิม ก็พยายามวางเน้นหน้าอกของลูกวางไว้ตรงหมอน เพื่อที่เค้าจะได้พยายามหายใจ

1.jpg



เปลี่ยนจากข้อมือเป็น พยายามกางข้อศอกของลูกแทน เพราะหมอนไม่สูงเท่าแขน แต่สามารถฝึกได้ 3 เรื่องคือ
• ความแข็งแรงของข้อศอก
• ความแข็งแรงของปอด
• ความแข็็งแรกของกล้ามเนื้อคอ





• ท่าที่ 1

2.jpg






• ท่าที่ 2

3.jpg






• ท่าที่ 3

4.jpg

แม้ไม่มีเบาะสามเหลี่ยม แต่ก็ไม่พ้นความพยายามของแม่ ลูกหินก็สามารถชันคอได้เช่นกัน
แต่ถ้าครอบครัวไหน...สามาถทำได้ทั้ง 2 อย่าง ทั้งเบาะสามเหลี่ยม และหมอนด้วย ก็ยิ่งดี ลูกจะได้การฝึกที่แตกต่างกัน
ซึ่งเป็นผลดีคูณสองเลย

5.jpg






การชันคอของลูก คือการแสดงออกถึง เด็กมีการพัฒนการ...แม้หมอเคยบอกแม่ว่าลูกไม่มีความหวัง แต่เชื่อเถอะว่า
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กที่หมอบอกว่า จะไม่มีพัฒนาการ

6.jpg





ถึงแม้ลูกของแม่จะฝึกได้ หรือฝึกไม่ได้ก็ตาม แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่แม่หวังไว้ แม่หวังเพียงว่า วันนี้ได้ทำอะไรให้ลูกดีที่สุดหรือยัง
และแม่ได้ทำแล้ว...อดีตชั่งมันแม่ไม่สน...แม่จะทำปัจจุบันให้ดีที่สุดทุกๆวัน และก็ไม่สนใจอนาคตด้วยว่ามันจะเป็นอย่างไร
คิดแค่นี้ สุขใจแล้วเมื่อมีหนูมาเป็นลูกของแม่...

7.jpg





และนี่ก็คือผลจากความพยายามของแม่ครั้งแล้ว ครั้งเล่า

8.jpg




แต่แม่ก็แอบหวังว่า พ่อแม่ของเด็กพิการทุกๆ คน...คงอยากจะสู้ให้ลูกๆ ของเค้าบ้าง

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่ 10 คู่มือ...แนะแนวทางให้พ่อแม่มือใหม่...จากมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

คู่มือ...แนะแนวทาง...สำหรับครอบครัวเด็กพิการทางสมอง

คำนำ

จากประสบการณ์ในการทำงานกว่า 20 ปี ของมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ พบว่าครอบครัวของเด็กสมองพิการ ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ ทักษะในการฟื้นฟูสมรรถภาพ กระตุ้นพัฒนาการและเลี้ยงดูเด็กให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพจริง ในขณะที่หน่วยบริการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่สามารถที่จะรองรับการบริการเด็กเหล่านี้ได้เพียงพอและต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการขยายการบริการในทั่วทุกภูมิภาค แต่จำนวนเด็กสมองพิการก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีทางเลือกสำหรับครอบครัวเด็กสมองพิการในการแสวงหาความรู้และข้อมูลที่จำเป็นในการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมไปถึงการเลี้ยงดูที่เหมาะสมและจากประสบการณ์การทำงานกับครอบครัวเด็กพิการ พบว่าครอบครัวเด็กพิการที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลข่าวสารที่จะเป็นทางเลือก จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการต่างๆ ได้มากขึ้น เข้มแข็งที่จะฟันฝ่าอุปสรรคสามารถพัฒนาศักยภาพของลูกและการอยุ่ร่วมกันของครอบครัวอย่างเข้มแข็ง และดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขมากขึ้น

ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของครอบครัวมูลนิธิเพื่อเด็กพิการได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อการถ่ายทอดความรู้การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กสมองพิการไปสู่ครอบครัว ผ่านกิจกรรมการอบรมหลักสูตรอบรมพ่อแม่มือใหม่ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน พ่อแม่จำนวนหนึ่งผ่านพ้นการเป็นพ่อแม่มือใหม่ ไปสู่การเป็น ” พ่อแม่(เด็กสมองพิการ)มืออาชีพ” แต่ยังคงมีพ่อแม่มือใหม่ ต้องการความรู้เหล่านี้อยู่ตลอดเวล มูลนิธิเพื่อเด็กพิการจึงได้รวบรวมเนื้อหาจากการจัดการอบรม จัดทำเป็นเอกสารคู่มือสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งอาจจะเป็นคู่มือเพื่อทบทวนความรู้สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมแล้ว และเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับพ่อแม่มือใหม่ เพื่อนำพาลูกไปสู่ทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมต่อไป มูลนิธิขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับท่านวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่ได้กรุณาให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อเด็กพิการที่ได้ร่วมกันจัดเรียบเรียงประสบการณ์อันเป็นข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำเนื้อหาของคู่มือเล่มนี้

มูลนิธิเพื่อเด็กพิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือพ่อแม่มือใหม่เล่มนี้ จะเผยแพร่ให้ได้กว้างขวางให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถูกนำไปใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาเด็กสมองพิการ และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถเลี้ยงดูเด็กสมองพิการได้อย่างมีคุณภาพ เป็นครอบครัวที่เข้มแข็งของสังคมไทย และคู่มือเล่มนี้จะได้รับการปรับปรุง พัฒนาให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของพ่อแม่ผู้ปกครองยิ่งขึ้น หากได้รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากท่าน คณะผู้จัดทำจึงขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้



คณะผู้จัดทำ
มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ


เนื้อหา...คู่มือเล่มนี้

• การฟื้นฟูเด็กสมองพิการ
• สมองพิการคืออะไร
• สาเหตุของสมองพิการ
• ส่วนของร่างกายที่ผิดปกติ
• ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว
• การรักษาฟื้นฟู

• กายภาพบำบัดคืออะไร
• ประโยชน์ของการฝึกกายภาพบำบัด
• สิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้เกี่ยวกับการฝึกกายภาพบำบัด
• ฝึกกายภาพบำบัด ทำอะไรบ้าง

• การฝึกกายภาพบำบัดพื้นฐานสำหรับผู้ปกครอง

• กิจกรรมบำบัดคืออะไร

• ประโยชน์ของการฝึกกิจกรรมบำบัด
• สิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองควรรู้เกี่ยวกับการฝึกกิจกรรมบำบัด
• เด็กสมองพิการต้องทำกิจกรรมบำบัดอะไรบ้าง
• การฝึกกิจกรรมบำบัดขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปกครอง

• ปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนในเด็กสมองพิการ

• การเล่นเพื่อการบำบัดในเด็กสมองพิการ
• เด็กกับการเล่น
• การเล่นเพื่อการบำบัดในเด็กสมองพิการ
• การจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อการบำบัดที่บ้าน สำหรับเด็กสมองพิการ ประเภทต่างๆ
พัฒนาการเด็ก


• สิทธิสวัสดิการเด็กพิการและครอบครัว




การฟื้นฟูเด็กสมองพิการ
สมองพิการคืออะไร
สมองพิการ (Cerebral palsy; CP) คือกลุ่มอาการพิการของสมองอย่างถาวร อาการที่เกิดขึ้นที่สมองจะคงที่ไม่ลุกลามต่อไปแต่ส่งผลให้เด็กมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวเป็นหลัก และอาจเกิดปัญหาด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การมองเห็น, การได้ยิน, ชัก, ปัญญาอ่อน ภาวะสมองพิการเกิดได้ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ จนถึงอายุประมาณ 6 ขวบ จัดเป็นความพิการประเภทร่างกายและการเคลื่อนไหว

สาเหตุของการเกิด สมองพิการ
ระยะก่อนคลอด จากการติดเชื้อของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน หรือ จากยาและสารพิษ หรือ การขาดออกซิเจน (แม่หมดสติ หรือเป็นลมบ่อยๆ หรือมีอาการท้องแข็งเกร็งขณะตั้งครรภ์บ่อย ๆ)

ระยะระหว่างคลอด ในระหว่างการคลอดเด็กขาดออกซิเจน หรือใช้เวลาในการคลอดนาน หรือแม่มีภาวะชักขณะคลอด(จากสาเหตุครรภ์เป็นพิษ) ทำให้เด็กขาดออกซิเจนไปด้วย หรือเด็กคลอดก่อนกำหนด อวัยวะต่างๆ ยังไม่พร้อมทำงาน ขาดออกซิเจน คลอดออกมาแล้ว สำลักน้ำคร่ำ ตัวเขียว หรือ ตัวเหลือง หรืออาจเกิดจากการต้องใช้เครื่องมือช่วยในการคลอดเพื่อให้เด็กรอดชีวิต และเกิดภาวะขาดออกซิเจนในระหว่างคลอด

ระยะหลังคลอด นับตั้งแต่คลอดจนถึงอายุประมาณ 6 ขวบ ซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อที่ส่งผลต่อสมองหรือเกิดอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำ ตกจากที่สูง จนมีเลือดออกในสมอง หรือการได้รับสารพิษ เช่น ตะกั่ว

ส่วนของร่างกายที่ผิดปกติ
Monoplegia มีความผิดปกติที่แขนหรือขาข้างเดียว
Diplegia มีความผิดปกติทั้งแขนและขา ขามากกว่าแขน
Triplegia มีความผิดปกติแขน 2 ข้าง ขา 1 ข้าง หรือขา 2 ข้าง แขน 1 ข้าง
Quadriplegia มีความผิดปกติทั้งแขนและขา
Hemiplegia มีความผิดปกติของแขนและขาซีกหนึ่ง


ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ จะมีอาการเกร็งที่แขน ขา หรือทั้งแขนและขา กำมือในลักษณะที่นิ้วโป้งสอดในอุ้งมือ, กล้ามเนื้อปวกเปียก นิ่ม, มีการเคลื่อนไหวแบบขึ้น ๆ ลง ๆ ในลักษณะที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ตามความต้องการ เช่น กำสิ่งของแรงเกินไป)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

การรักษาฟื้นฟู
เด็กสมองพิการจะเจริญเติบโต และพัฒนาศักยภาพได้โดยการกระตุ้นพัฒนาการ การทำกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด ด้วยวิธีการรักษาฟื้นฟูเหล่านี้ต้องทำร่วมกัน ปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของเด็กแต่ละคน การพบแพทย์ หรือนักบำบัดต่างๆ เป็นการพบเพื่อตรวจวินิจฉัย ประเมินพัฒนาการและความก้าวหน้า และเพื่อการรับโปรแกรมการฝึกที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย แต่บุคคลที่สำคัญที่สุดคือผู้ที่ดูแลหรือใกล้ชิดเด็กมากที่สุด คือพ่อแม่ หรือสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจำเป็นต้องฝึกทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ

กายภาพบำบัดคืออะไร
ผู้กระทำเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการรักษา ป้องกัน และแก้ไขความพิการ ฟื้นฟูการเสื่อมสภาพ หรือความพิการทางร่างกายและหรือจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ซึ่งได้แก่ การดัด การดึง การประคบ การนวด การบริหารร่างกาย หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผู้ป่วย และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การรักษาทางกายภาพบำบัด คือ ความร้อนตื้นและลึก ไฟฟ้า คลื่นเสียง การฝึกในการลุกนั่ง ยืน เดิน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน วอร์คเกอร์ หรือด้วยเครื่องกายอุปกรณ์ตามแผนงานการบำบัดรักษาของแพทย์และทีมเวชกรรมฟื้นฟู
(ผศ.พญ.สุนิตย์ สุทธิสารรณกร)

ประโยชน์ของการฝึกกายภาพบำบัด
ลดปัญหาความเจ็บป่วย ภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ
ลดปัญหาการผิดรูปของกระดูกเช่น หลังค่อม หลังคด ข้อเท้าติดแข็งในท่าปลายเท้าเหยียด หรือบิด ผิดรูป และป้องกันการยึดติดของข้อต่างๆ
เป็นการกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กเรียนรู้เรื่องการควบคุมการทรงตัว การเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆ ได้ด้วยตนเอง

สิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้เกี่ยวกับการฝึกกายภาพบำบัด
เด็กควรได้รับการตรวจประเมินสภาพร่างกาย ความสามารถของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องจากนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด

การรักษาเด็กสมองพิการ เป็นการรักษาที่ทำให้เด็กดีขึ้นตามศักยภาพที่เด็กสามารถทำได้ เพราะสมองพิการไม่สามารถหายขาดได้ แต่การพัฒนาศักยภาพเด็กจะนำไปสู่การช่วยเหลือตัวเองและการทำกิจกรรมอื่นๆ ต่อไปได้ในอนาคต
นักกายภาพบำบัดเป็นเพียงผู้แนะนำและสอนสิ่งที่ถูกต้อง คือให้โปรแกรมการฝึกที่เหมาะสม สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องนำไปฝึกที่บ้านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


ปัจจัยความสำเร็จของการฝึกกายภาพบำบัด
อายุเด็กที่มาเริ่มรับบริการหรือเริ่มฝึกกายภาพบำบัด
ความสม่ำเสมอ และวิธีการฝึกที่ถูกต้อง เหมาะสม
การมีส่วนร่วมของครอบครัว

ฝึกกายภาพบำบัด ทำอะไรบ้าง
การจัดท่าทาง และการอุ้มเด็ก
การยืดกล้ามเนื้อ
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
การฝึกกายภาพบำบัดพื้นฐานสำหรับผู้ปกครอง ที่สามารถทำได้ทุกวันได้แก่

ข้อควรระวังในการฝึกกายภาพบำบัด
ควรบอกเด็กก่อนเริ่มฝึกเพื่อเตรียมสภาพจิตใจ และอารมณ์ ความพร้อมของเด็กทุกครั้ง เพื่อให้เด็กร่วมมือในการฝึก หากเด็กร้องไห้ขณะฝึก ต้องแน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากการฝึกกายภาพบำบัด แต่เป็นการต่อต้านการฝึก ซึ่งผู้ฝึกต้องหยุดพัก แต่ไม่ยกเลิกการฝึก และปฏิบัติจนกลายเป็นภารกิจปกติในชีวิตประจำวัน

การยืดกล้ามเนื้อทุกส่วนควรทำอย่างช้าๆ และสื่อสาร(บอก)เด็กก่อนทุกครั้งว่ากำลังจะทำอะไรขณะฝึกไม่ควรกดลงน้ำหนัก เมื่อเด็กเกร็งต้าน เพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือกล้ามเนื้ออักเสบได้

ในกรณีของเด็กที่ไม่แน่ใจว่า ข้อสะโพก หรือไหล่ หลุดหรือไม่ ให้ปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อแก้ไข หากไม่ฝึกกายภาพบำบัด หรือไม่ทำอย่างสม่ำเสมอจะทำกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็นหดรั้งหรือยึดจนและนำไปสู่การผิดรูปของข้อต่อ หรือกระดูก จนกลายเป็นความเจ็บปวด ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด


กิจกรรมบำบัดคืออะไร
การนำกิจกรรมใด ๆ มาใช้อย่างมีเป้าหมาย เพื่อรักษาบุคคลผู้เสื่อมความสามารถอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บทางร่างกาย ความผิดปกติทางจิตสังคม ปัญหาทางพัฒนาการและการเรียนรู้ ปัญหาทางวัฒนธรรม ให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมแวดล้อมได้โดยอิสระและพึ่งพาตนเองกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ประกอบด้วยการประเมิน การให้การบำบัดรักษา การให้คำปรึกษา การให้บริการเฉพาะต่าง ๆ เช่น การสอนทักษะในกิจวัตรประจำวัน การฝึกทักษะการรับรู้และการเคลื่อนไหว (Perceptual motor) การจัดระเบียบการรับรู้และตอบสนอง (Sensory integration) ทักษะการละเล่น การใช้เวลาว่าง การเลือกงานที่เหมาะสมกับทักษะความสามารถ การออกแบบ/ประยุกต์/ดัดแปลงและเลือกใช้อุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียม การออกแบบงานฝีมือและการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล รวมทั้งการทดสอบและแปลงผลการทดสอบต่าง ๆ เช่นการวัดกำลังกล้ามเนื้อ การวัดช่วงการเคลื่อนไหวของข้อ การทดสอบระดับพัฒนาการ ฯลฯ ซึ่งบริการดังกล่าว อาจทำได้ทั้งแบบเดี่ยว แบบกลุ่มหรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม
(ที่มา: สมาคมนักกิจกรรมบำบัดแห่งประเทศไทย: HYPERLINK "http://WWW.OTAT.org" WWW.OTAT.org)

ประโยชน์ของการฝึกกิจกรรมบำบัด
เด็กสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย เป็นการป้องกันความพิการซ้ำซ้อนที่จะเกิดขึ้น เป็นการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้เป็นปกติสุข

สิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองควรรู้เกี่ยวกับการฝึกกิจกรรมบำบัด
เด็กควรได้รับการตรวจประเมินสภาพร่างกายเพื่อให้รู้ถึงความสามารถ และศักยภาพที่แท้จริงโดยเร็วที่สุด
นักกิจกรรมบำบัดเป็นเพียงผู้แนะนำและสอนสิ่งที่ถูกต้อง คือให้โปรแกรมการฝึกที่เหมาะสม สิ่งที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องนำไปฝึกที่บ้านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ควรปรับให้การฝึกกิจกรรมบำบัดเป็นกิจวัตรประจำวันทั้งของเด็กและผู้ปกครอง

เด็กสมองพิการต้องทำกิจกรรมบำบัดอะไรบ้าง
จากความหมายของกิจกรรมบำบัดข้างต้น เด็กสมองพิการจำเป็นต้องฝึกกิจกรรมบำบัดในเรื่องต่างๆ ดังนี้
การฝึกทักษะการรับรู้และการเคลื่อนไหว (Perceptual motor) เช่นในขณะที่เด็กต้องฝึกการคว่ำ ชันคอ เด็กต้องฝึกการรับรู้การเคลื่อนไหวว่าลงน้ำหนักอยุ่ตรงจุดใด เวลาจะก้าวขาแต่ละข้างต้องทิ้งน้ำหนักลงส่วนใดเพื่อการทรงตัวได้

การจัดระเบียบการรับรู้และตอบสนอง (Sensory integration) เช่นการรับรู้รสชาดต่างๆ และการตอบสนองต่อสัมผัสต่างๆ
การสอนทักษะในกิจวัตรประจำวัน (Activity daily living) เช่น การรับประทานอาหาร การดื่ม การดูดนมจากขวด ดูดน้ำจากหลอด การถอด- ใส่ เสื้อผ้า การติดกระดุมฯลฯ
ทักษะการละเล่น การใช้เวลาว่าง การหยิบจับของเล่น วิธีการเล่นของเล่น เช่นต้องเขย่า การขว้าง หรือโยนบอล ฯลฯ
การออกแบบ/ประยุกต์/ดัดแปลงและเลือกใช้อุปกรณ์เสริมและกายอุปกรณ์เทียม เช่นการปรับช้อนให้มีด้ามใหญ่จับถนัด และบิดเข้าใกล้ปากเด็กหากเด็กมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อแขน หรือมือ ฯลฯ

การฝึกกิจกรรมบำบัดขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปกครอง
แนวทางการฝึกที่นำเสนอในคู่มือเล่มนี้เป็นเพียงขั้นพื้นฐานที่ผู้ปกครองควรฝึก หากเด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน หรือมีความสามารถทำกิจวัตรต่างๆได้มากกว่านี้ ควรพาเด็กไปรับการปรึกษานักกิจกรรมบำบัด
ปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนในเด็กสมองพิการ
เด็กสมองพิการมักมีปัญหาสุขภาพอื่นร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ขวบปีแรก ปัญหาที่พบบ่อยได้แก่

ภาวะทางเดินทางหายใจมีปัญหา ปอดอักเสบบ่อย ๆ
เด็กสมองพิการ มักมีปัญหาเรื่องการดูดกลืน ซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมของสมองมีปัญหา ทำให้การดูดกลืนของเด็กมักมีปัญหา สำลักได้ง่าย บางคนกลืนอาหารโดยไม่เคี้ยว บางคนไม่สามารถดูดนม น้ำ หรือของเหลวได้ ต้องให้หลอดฉีดยา หรือหลอดหยดยา นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะเกร็งของลำตัว จะพบว่าปอดถูกบีบรัด หายใจไม่เต็มปอด เมื่อมีการสำลัก จะทำมีของเหลวค้างอยู่ในปอด ทำให้ปอดอักเสบได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีอาการปอดอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง และเพิ่มความเกร็งของกล้ามเนื้อมากขึ้น เด็กที่มีปัญหาทางเดินหายใจนี้ มักจะเป็นๆ หายๆ ผู้ปกครองต้องปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อขอคำแนะนำในการเคาะปอดที่ถูกวิธี หรือการออกกำลังกายที่ช่วยให้ปอดแข็งแรงขึ้น ก็จะสามารถลดปัญหาปอดอักเสบบ่อยๆ และป้องกันปัญหาได้เป็นอย่างดี

ปัญหาการดูดกลืนผิดปกติ
เนื่องจากสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อการดูดการกลืน กับ การหายใจ ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลให้เกิดการสำลัก และปัญหาปอดอักเสบตามมา บางรายมีปัญหาการอาเจียน หรือขย้อนของอาหาร ทำให้เด็กสำลักเศษอาหารเข้าไปอยู่ในปอดได้เช่นกัน ซึ่งจะสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กด้วย ในบางรายแพทย์ต้องใช้วิธีผ่าตัดเพื่อใส่ท่ออาหารเข้าสู่กระเพาะโดยตรงและต้องใช้อาหารที่ทำขึ้นตามสูตรของโภชนากรเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารเพียงพอ อุปกรณ์ที่ให้อาหาร เช่นสายยาง หลอดคล้ายหลอดฉีดยาแต่ขนาดใหญ่กว่ามากสำหรับตวงอาหารที่จะต้องให้เด็กแต่ละมื้อ ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างสะอาดถูกสุขอนามัยและเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเด็กทางท่ออาหารและที่สำคัญต้องดูแลความสะอาดของสายยางที่หน้าท้องเด็กให้สะอาด ไม่ให้หลุด การให้อาหารทางสายยางจะเพิ่มภาระสำหรับผู้ปกครอง แต่ถ้าดูแลจนเกิดความเคยชินก็จะสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติออกกำลังกายและบำบัดฟื้นฟูได้ ภายใต้คำปรึกษาของกุมารแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น
ปัญหาภาวะโภชนาการ

เมื่อเด็กสมองพิการมีปัญหาเรื่องการดูดกลืน สำลัก มักจะมีปัญหาภาวะโภชนาการตามมา น้ำหนักลด ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ไม่ครบหมู่อาหาร หรือเคี้ยวอาหารหยาบไม่ได้แม้ว่าจะมีฟันขึ้นหลายซี่แล้ว ผู้ปกครองต้องให้แต่นมเพียงอย่างเดียว ซึ่งสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองควรเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อขอให้ส่งปรึกษาโภชนากรเรื่องโภชนาการสำหรับเด็กแต่ละคน ควรเสริมอาหารอย่างไร ควรปรุงอาหารอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพร่างกาย และพัฒนาการของเด็ก ในขณะที่ต้องมีการฝึกการเคี้ยวกลืนตั้งแต่เล็ก ๆ ให้เด็กสามารถเคี้ยว ดูด กลืน ได้ดีขึ้นตามพัฒนาการ เพื่อป้องกันปัญหาโภชนาการดังกล่าว

ปัญหาสุขภาพฟันของเด็กสมองพิการ
เด็กที่รับประทานอาหารซ้ำๆ หรือมีปัญหาการเคี้ยวกลืน จะมีปัญหาสุขภาพฟันตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฟันผุ หรือคราบหินปูนจับเร็วกว่าปกติ หรือปัญหาการอักเสบของเหงือกจำเป็นเด็กสมองพิการต้องรับการตรวจสุขภาพฟันตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพฟันได้อย่างถูกวิธีตั้งแต่แรก และควรไปพบแพทย์ที่ดูแลสุขภาพฟันเด็กพิการเป็นระยะ ๆ


ภาวะชัก
เด็กสมองพิการจำนวนหนึ่งมีภาวะชักร่วมด้วย ซึ่งอาจจะเกิดในช่วงใด ช่วงหนี่งหลังคลอด เนื่องจากลักษณะของการชักมีหลายแบบ เด็กสมองพิการที่มีอาการเกร็งอยู่แล้วจะยิ่งดูยากว่าเป็นอาการชักหรือไม่ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ปกครองควรสอบถามจากกุมารแพทย์ หรือแพทย์ทางด้านระบบประสาท หรือสมอง เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจน หากเด็กมีอาการชักแพทย์จะให้ยาควบคุมการชัก ซึ่งต้องกินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมการชักนานเป็นปี และควรอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ ไม่ควรหยุดยา เพิ่ม ลดยาเอง ภาวะชักจะมีผลต่อพัฒนาการเด็กโดยตรง ผู้ปกครองและผู้ดูแลจึงควรเอาใจใส่ สังเกตอาการชัก สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการชัก ความถี่ในการชัก ระยะเวลาของการชักแต่ละครั้ง อาการหลังจากการชัก ควรจดบันทึกอย่างละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแพทย์ผู้รักษา


สมองผิดปกติ
เด็กสมองพิการที่มีอาการที่ตัวสมองร่วมด้วย ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่
น้ำในสมอง Hydrocephaly อาการที่ชัดเจนคือ มีศรีษะโตขึ้นรวดเร็วผิดปกติ หรือ ในเด็กเล็ก ศรีษะไม่โตจนผิดปกติ แต่มีไข้บ่อย มีอาการซึม ไม่ดูดนม ร้องไห้โยเยตลอดวัน ตลอดคืน บางรายมีการชักร่วมด้วย ผู้ปกครองต้องพาไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้เร็วที่สุด เพราะในปัจจุบันแพทย์สามารถตรวจพบได้เร็วและให้การรักษาได้โดยการใช้ยาก่อนที่ศรีษะจะโตขึ้นเรื่อยๆ หากศรีษะโต หรือสามารถผ่าตัดให้ระบายน้ำออกจากสมองได้ แพทย์จะผ่าตัดใส่ท่อ ที่เรียกว่า “ทำชั้น” “Shunting” ผู้ปกครองจำเป็นต้องพาเด็กไปพบแพทย์เป็นระยะ ๆ ตามนัดเพื่อเฝ้าระวังอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หรือภาวะอุดตันของท่อ

สมองเล็ก Microcephaly เด็กที่มีสมองเล็ก จะเห็นได้ชัดจากรูปศรีษะที่เล็กกว่าปกติของเด็กในวัยเดียวกัน เวลาผู้ปกครองพาเด็กไปพบแพทย์จะเห็นว่าแพทย์ต้องวัดรอบศรีษะของเด็กทุกครั้งเพื่อดูความเจริญเติบโตของกะโหลกศรีษะและสมอง หากเล็กผิดปกติ เด็กมักจะมีปัญหาการเรียนรู้ช้า หรือมีภาวะชัก ซึ่งไม่มียาชนิดใดที่ทำให้สมองเจริญเติบโตได้เป็นปกติแต่การกระตุ้นพัฒนาการเพื่อการใช้สมองอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้พัฒนาการเด็กดีขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ปกครองที่เห็น เด็กนอนทั้งวัน ไม่กวน อย่าเพิ่งชะล่าใจ และต้องคอยสังเกตอาการอื่นๆ ด้วย

ปัญหาเรื่องการเรียนรู้
เด็กสมองพิการประมาณ 30 % จะมีปัญหาการเรียนรู้ร่วมด้วย เนื่องจากการกระทบกระเทือนสมองส่วนควบคุมการเรียนรู้ เด็กจะเรียนรู้ช้า โต้ตอบไม่ได้ หรือได้น้อย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หรือการกระตุ้นการมองเห็น การได้ยินของผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ซึ่งกิจกรรมแบบผสมผสานเพื่อการกระตุ้นการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ"
(Sensory Integrations) เป็นการกระตุ้นที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้น โดยผู้ปกครองสามารถขอโปรแกรมการฝึกได้จากนักกิจกรรมบำบัด

ปัญหาเรื่องสายตา
เด็กสมองพิการจำนวนหนึ่งมีปัญหากับสายตา เนื่องจากสมองส่วนควบคุมการมองเห็นผิดปกติ บางอย่างตรวจพบได้เร็ว เช่น ตาเหล่ ตาเข ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหา สายตาขี้เกียจ บางอย่างตรวจพบได้ช้า เช่น อาการสายตาสั้น เอียง เด็กสมองพิการทุกคนจึงควรได้รับการตรวจสายตาเป็นระยะ ๆ จากจักษุแพทย์ และเริ่มเร็วที่สุด

ปัญหาการได้ยิน
เด็กสมองพิการจำนวนหนึ่งมีปัญหาเรื่องการได้ยิน พบได้ประมาณ 5-10 % อันเนื่องมาจากสมองส่วนควบคุมการได้ยินมีความบกพร่อง ซึ่งถ้าได้รับการตรวจแต่เนิ่น ๆ จะช่วยแก้ไขได้ หรือบางกรณี เด็กเริ่มโตขึ้นจึงจะปรากฏอาการชัดเจน จำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจเป็นระยะ ๆ และเริ่มเร็วที่สุด

ปัญหาการสื่อความหมาย
เด็กสมองพิการอาจจะมีข้อจำกัดด้านกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องการการสื่อสาร เช่น พูดไม่ชัด อันเกิดจากความเกร็ง หรือ ควบคุมกล้ามเนื้อริมฝีปากไม่ได้ดี เพราะสมองไม่สามารถสั่งการให้ควบคุมได้อย่างเป็นปกติ การพูดผิดปกติ เช่น จัดคำหน้าหลังผิด การพูดแบบนกแก้ว คือเด็กสามารถพูดได้ แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองพูดทั้งหมด พูดซ้ำๆ แต่ไม่เป็นเรื่องเดียวกัน เลียนเสียง และประโยคของคนใกล้ชิด หรือประโยคจากโทรทัศน์ได้อย่างแม่นยำ โดยไม่เข้าใจความหมาย หรือใช้ประโยคไม่ถูกสถานการณ์ ซึ่งมักจะพบในเด็กที่ไม่มีอาการทางร่างกายรุนแรง และมักจะมีปัญหาการเรียนรู้ช้าร่วมด้วย


การเล่นเพื่อการบำบัดในเด็กสมองพิการ
เด็กกับการเล่น
พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กคงเคยสังเกตเห็นเด็กจ้องมองสิ่งของต่างๆ รอบตัว เคลื่อนไหวแขนขาไปมา หรือหยุดฟังเสียงต่างๆ นั่นคือการเล่นรูปแบบหนึ่งของเด็กซึ่งเริ่มพัฒนาตั้งแต่วัยทารกโดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง5 และการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผลพลอยได้จากการเล่น นอกเหนือจากการส่งเสิรมพัฒนาการด้านต่างๆ แล้วเด็กยังได้พัฒนา”ความนับถือตนเอง” เมื่อเด็กสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรส่งเสริมให้เด็กได้เล่นอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุ และความสามาถรของพัฒนาการ เช่น ในวัยทารก หรือช่วงที่ลูกยังนอนเป็ฯส่วนใหญ่ ควรมีการแขวนปลาตะเพียนหรือโมบายให้เด็กได้มีโอกาสไขว่คว้า และจ้องมองการอุ้มชูและพูดคุยกับทารกก็จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมและภาษาของเด็ก เมื่อเด็กเจริญวัยขึ้นควรเพิ่มกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดมากกว่าการให้ของเล่นราคาแพง อุปกรณ์หรือเกมที่ทันสมัย คือ การที่มีผู้มาเล่นกับเด็กไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ พี่เลี้ยง ญาติผู้ใหญ่หรือแม้แต่พี่น้องของเด็กเอง เพราะเด็กจะเรียนารู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีคนมาเล่นและพูดคุยด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กสมองพิการซึ่งมีความจำกัดในการเคลื่อนไหว จำเป็นต้องมีคนมาเล่นกับเด็ก ถ้าเด็กไม่สามารถเคลื่อนไหวไปหาของเล่น หรือคนอื่นได้

เด็กต่างวัยจะเล่นต่างกัน ดังนั้นพ่อแม่จึงควรเล่นกับเด็กอย่างเข้าใจในพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ที่สำคัญคือ ควรเล่นกับลูกอย่างเหมาะสมคือไม่กระตุ้นมากเกินไปจนทำให้เด็กเครียดและแม้จะกระตุ้นเด็กแค่ไหนศักยภาพของสมองจะเป็นตัวกำหนดระดับความสามารถของเด็ก

แนวทางการเล่นกับเด็กตามขั้นของพัฒนาการ
เด็กวัย 0-3 เดือน
ตามธรรมชาติของทารกจะชอบมองหน้าคนมากกว่าสิ่งใด ดังนั้นจึงควรพูดคุยกับลูก สบตากัน อุ้มโอบกอด ร้องเพลงกล่อม และเขย่าของเล่นที่มีสีสันสดใสให้เด็กมองตาม

เด็กวัย 3-6 เดือน
เด็กเริ่มส่งเสียงโต้ตอบเมื่อมีคนมาพูดคุยด้วย เริ่มคว้าของเล่นเขย่า และมองตามได้ดี เคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น วัยนี้จึงควรหาของเล่นให้เด็กคว้าและเขย่า พูดคุยกับเด็กและเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และไม่มีอันตราย เช่นบนพื้นที่ไม่ลื่นเกินไป

เด็กวัย 6-9 เดือน
การเล่นปูไต่ จะเอ๋ เล่นหาของ สนใจมองตามเวลาผู้ใหญ่ชี้สิ่งต่างๆ รอบตัว ควรเรียกชื่อเด็กและออกเสียงคำง่าย ๆ เช่น หม่ำ ๆ จ๊ะจ๋า ข้อควรระวังที่สำคัญในวัยนี้คือควรเลี่ยงของเล่นที่มีขนาดเล็ก ๆ และอาจหลุดลงหลอดลมได้เช่น เม็ดกระดุม ลูกปัด

เด็กวัย 9-12 เดือน
เด็กวัยนี้สนใจค้นหาสิ่งต่างๆ รอบตัว พ่อแม่จึงควรพาเด็กไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสาธารณะ สถานที่เที่ยวที่เป็นธรรมชาติ ควรได้มีการเล่าหรืออ่านนิทานให้เด็กฟังพร้อมดูรูปภาพประกอบ หาของเล่นที่มีผิวสัมผัสต่างๆ กัน และพูดคุยให้เด็กเรียนรู้ถึงความแตกต่างๆ อาจมีของเล่นขนาดใหญ่ที่ผลักให้เคลื่อนไหวได้ เพื่อฝึกการเดินหรืออาจเป็นเก้าอี้หรือโต๊ะเตี้ยให้เด็กได้เดินไปรอบๆ และให้เด็กได้ถืออาหารชิ้นใหญ่เช่น ขนมปังแผ่น ผลไม้ ป้อนนเอง ข้อควรระวังคือไม่ควรติดตั้งปลั๊กไฟในตำแหน่งที่เด็กอาจใช้นิ้วแหย่เข้ารูได้ หรืออาจหาอุปกรณ์ป้องกัน ปิดช่องของปลั๊กไฟไว้ ควรระวังการวางอุปกรณ์ต่างๆ บนโต๊ะ เพราะเด็กอาจคว้าและตกลงมาทำอันตรายต่อเด็ก หาที่กั้นป้องกันเด็กตกลงจากบันได

เด็กวัย 1-2 ปี
เด็กวัยนี้จะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง อยากรู้อยากเห็นสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การเล่นในวัยนี้จะชอบเล่นทราย น้ำ เรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว เล่นชี้อวัยวะ ภาพสัตว์แยกประเภท ของเล่น ตุ๊กตา เล่นสมมติ เรียนรู้รูปทรงต่างๆ ของสิ่งของบ้าน เล่นของเล่นที่ลากจูง ซ้อนกล่องเป็นตึกหรือรถไฟ เริ่มหัดขีดเขียนและควรฝึกให้รักการอ่านด้วยการดูหนังสือด้วยกัน

เด็กวัย 2-3 ปี
เด็กเริ่มที่จะประกอบสิ่งของต่าง ๆ เป็นรูปทราบ เช่น สะพาน บ้าน เล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ เช่น ตำรวจ แพทย์ เล่นขายของ วิ่งเล่น เต้นตามจังหวะเพลง วาดรูป ขีดเขียนเป็นรูปร่างต่างๆ ระบายสี การเล่นกับลูกวัยนี้นอกจากเล่นตามความสนใจของเด็ก ควรมีการพูดคุยกับลูกเล่นเกมทายคำต่างๆ นับ 1-10 เล่านิทาน เล่าเรื่องต่างๆ ให้เด็กฟัง

เด็กวัย 3-5 ปี
วัยนี้เด็กเริ่มเล่นเป็นกลุ่ม เล่นอย่างมีจินตนาการมากขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น เช่นเล่นต่อเท้า ขี่จักรยานสามล้อม สนใจกิจกรรมงานบ้านต่างๆ เช่น ล้างรถ ทำครัว ใช้มือได้ดีขึ้นจึงควรมีกิจกรรมเกี่ยวกับการปั้น การตัดกระดาษ ร้อยลูกปัด ปะกระดาษ วาดรูประบายสี นับสิ่งของต่างๆ เข้าใจจำนวน สนใจพยัญชนะต่างๆ รู้จักสี เริ่มเล่าเรื่องได้

ไม่ว่าเด็กจะมีข้อจำกัดทางด้านร่างกายอย่างไร การเล่นที่เหมาะสมกับวัย พัฒนาการ รวมทั้งการให้โอกาสเด็กได้ทำในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมนอกจากจะช่วยให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเองแล้วยังส่งเสิรมให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจิตวิญญาณ และก่อให้เกิดความรัก ความผูกพันระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกอีกด้วย
(พญ.นลินี เชี้อวณิชชากร: สาระน่ารู้ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ทำเนียบบริการ และผลิตภัณฑ์, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2545)

การเล่นเพื่อการบำบัดในเด็กสมองพิการ
สิ่งสำคัญในการเล่นเพื่อการบำบัดเด็กสมองพิการ คือผู้ปกครอง หรือผู้ใกล้ชิดต้องเข้าใจถึงระดับพัฒนาการ ข้อจำกัด และความสนใจของเด็ก และต้องจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อบำบัดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม หรือบังคับ
ประโยชน์ของการเล่นและการจัดท่าในการเล่นสำหรับเด็กสมองพิการ มีดังนี้
เพื่อช่วยลดอาการเกร็ง, ฝึกการทรงตัว และกระตุ้นการใช้มือหยิบจับของเล่น
เพื่อช่วยกระตุ้นการกางขา, การลงน้ำหนักที่เท้า และการลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง
เพื่อกระตุ้นการยืนด้วยเข่า และฝึกกำลังกล้ามเนื้อเพื่อเหยียดสะโพก
เพื่อช่วยฝึกและกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กสามารถนั่ง ยืน เดินได้เองหรือใช้อุปกรณ์ช่วย เป็นต้น

ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเล่นของเด็กสมองพิการ
ความสามารถในการทรงท่า ควรจัดท่าในการเล่นให้เหมาะสมกับสภาพของเด็กด้วย
ความเปลี่ยนแปลงของความตึงของกล้ามเนื้อขณะเล่น และความเหมาะสมของกิจกรรมการเล่น สำหรับกิจกรรมการเล่นที่เด็กต้องนั่งเก้าอี้ ควรจัดหาขนาดโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมกับเด็ก โดยเมื่อเด็กนั่งเก้าอี้แล้วอยู่ในท่าหลังตรง ลำตัวไม่โค้งงอมาด้านหน้าหรือด้านหลัง หรือด้านข้าง ส่วนเก้าอี้รองรับสะโพก และขาส่วนบนได้เต็มที่ ฝ่าเท้าของเด็กแบนราบติดกับพื้น ระดับของโต๊ะไม่ควรสูงเกินระดับอกของเด็ก

การจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อการบำบัดที่บ้าน สำหรับเด็กสมองพิการ ประเภทต่างๆ
เด็กที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ (Spasticity)
เด็กที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อจะมีความสามารถในด้านการเคลื่อนไหวจำกัด มักเคลื่อนไหวได้น้อย หรือมักอยู่กับที่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ซึ่งจะส่งเสริมให้มีความผิดปกติของความตึงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว
ควรจัดให้มีกิจกรรมการเล่นในท่าที่มีการเคลื่อนไหวของแขนและมือในช่วงมุมข้อที่กว้างขึ้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวในทุกทิศทาง ของเล่นสำหรับการหยิบจับของเด็กกลุ่มนี้ควรมีขนาพอเหมาะกับมือ เพื่อให้เด็กสามารถกำ-แบมือ หรือหยิบจับของเล่นได้ง่ายขึ้น

ข้อควรคำนึงของเล่นที่มีขนาดเล็กมาก อาจจะไม่เหมาะสมกับเด็กที่มีระดับการเกร็งสูง เพราะเด็กต้องใช้ความพยายามในการควบคุมการหยิบจับมาก แต่ถ้าของเล่นมีขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ไม่มั่นคงในการหยิบจับ รูปแบบการหยิบจับผิดปกติและของเล่นอาจหลุดมือได้ง่าย

เด็กสมองพิการที่มีการเคลื่อนไหวแบบขึ้นๆ ลง ๆ (Athetoid)
จัดท่าเพื่อให้เด็กอยู่ในท่าที่มั่นคงที่สุด ต้องใช้การเล่น และของเล่นที่ไม่มีการเคลื่อนไหวข้อในช่วงกว้างมากเพราะทำให้เด็กควบคุมการเคลื่อนไหวได้ยากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ของความตึงของกล้ามเนื้อ เน้นการเล่นในแนวกลางลำตัว

เด็กสมองพิการที่มีการเคลื่อนไหวแบบไม่สามารถควบคุมได้ (Ataxia)
เด็กกลุ่มนี้จะมีการเคลื่อนไหวแบบ เดินเซ กะระยะในการเดินไม่ถูก มีอาการสั่นเมื่อหยิบจับวัตถุเล็กหรือวัตถุมีน้ำหนักเบา ควรให้เด็กมีกิจกรรมการเล่นที่ต้องใช้การทำงานของกล้ามเนื้อมาก เช่น ให้เด็กรับผิดชอบการเข็นรถเข็นบรรจุดินในกิจกรรมการเกษตรใส่แถบน้ำหนักที่ข้อเท้าเพื่อช่วยจังหวะในการเดินให้ราบรื่นขึ้น

เมื่อให้กิจกรรมการใช้มืออาจะใช้แถบน้ำหนักใส่บริเวณข้อมือ จะช่วยลดปัญหาการกะระยะทำให้มีความแม่นยำของมือดีขึ้น
(ประพา หมายสุข : สาระน่ารู้ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ทำเนียบบริการ และผลิตภัณฑ์, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2545)



พัฒนาการเด็ก
ผู้ปกครองเด็กสมองพิการจำเป็นต้องเข้าใจพัฒนาการเด็กปกติ เพื่อให้เห็นถึงขั้นตอนของการพัฒนาของเด็กทุกคน ซึ่งจะเป็นไปตามลำดับความสามารถ และอายุ แต่เนื่องจากเด็กสมองพิการมีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ของพัฒนาการ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปได้ตามวัย แต่ขั้นของพัฒนาการจะเหมือนกับเด็กปกติซึ่งจะเป็นเสมือน “ธง” หรือเป้าหมายระหว่างทางของการพัฒนาเด็กแต่ละคน ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจะสามารถพัฒนาไปได้มากน้อยเพียงใดหรือจะมีปัญหาอุปสรรคใดเข้ามาในกระบวนการเติบโตของเด็กแต่ละคนพัฒนาการปกติจะเป็นแนวทางในการจัดทำโปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการ แก้ไข กระตุ้นจุดอ่อน เสริมจุดแข็งของพัฒนาการแต่ละด้าน โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรัดตามอายุจริงของเด็กผู้ปกครองควรประเมินเด็กโดยเทียบกับระยะเวลาที่ผ่านไป และความสามารถที่เพิ่มขึ้นของพัฒนาการจากการฝึกตามโปรแกรมการฝึกต่างๆ ที่ได้รับ


สิทธิสวัสดิการสำหรับเด็กพิการและครอบครัว
ในระยะแรกที่รับรู้ถึงความพิการของเด็ก ผู้ปกครอง และสมาชิกในครอบครัว จะพยายาม”ซื้อบริการ”ทุกรูปแบบเพื่อการตรวจ วินิจฉัย รักษา กระตุ้นพัฒนาการ กายภาพบำบัด หรืออื่นๆ เท่าที่กำลังความสามารถของครอบครัวจะทำได้ โดยยังไม่ค้นหาข้อมูลด้านอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันการบริการในสถานพยาบาลในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดเรื่องการให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยงที่จะมีลูกพิการ เพราะเริ่มต้นของการค้นพบคือ ลูกไม่สามารถพัฒนาไปได้ตามวัยแต่กว่าจะแน่ใจเด็กก็เสียเวลาไปแล้วระยะหนึ่ง และมักจะเริ่มจากการที่ผู้ปกครองเห็นความผิดปกติแล้วพาลูกไปพบแพทย์ หลังจากนั้นจะทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกหายโรค ข้อมูลเรื่องสิทธิสวัสดิการจึงเป็นเรื่องท้าย ๆที่พ่อแม่จะให้ความสนใจ ยกเว้นในรายที่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งจะพบว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ คู่มือพ่อแม่มือใหม่เล่มนี้จัดทำขึ้นในปี 2550 ซึ่งเป็นระยะที่ สวัสดิการสำหรับเด็กพิการและครอบครัวในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องข้อมูลจึงอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ นโยบาย ของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ อย่างไรก็ตามขั้นพื้นฐานตามสิทธิที่เด็กและครอบครัวพึงได้ประกอบด้วย

สิทธิด้านการรักษาพยาบาล
สิทธิด้านการรักษาพยาบาลเริ่มตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ของแม่ด้วยซ้ำไปการฝากครรภ์ และการคลอดเป็นสวัสดิการสำหรับผู้หญิงทุกคน เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว การรักษาภาวะเจ็บป่วยปกติ ได้รับการครอบคลุมจากสิทธิตามหลักประกันสุขภาพ ของเด็กวัย 0-12 ปี จะได้รับการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน เช่น รับวัคซีน รักษาภาวะเจ็บป่วย แต่ในรายที่มีปัญหาพัฒนาการผิดปกติ ซึ่งจะต้องรอการตรวจวินิจฉัย และสังเกตอาการจากแพทย์อย่างน้อย 6 เดือน(นับแต่พบแพทย์ครั้งแรก จึงจะวินิจฉัยได้ชัดเจน เมื่อวินิจฉัยได้ชัดเจน แจ้งให้ผู้ปกครองได้รับทราบ และเตรียมตัวปรับสภาพจิตใจ แพทย์จะออกใบรับรองความพิการ หรือผู้ปกครองต้องแสดงความจำนงให้แพทย์ผู้ตรวจทราบว่าต้องการใบรับรองความพิการ หลังจากนั้นจะสามารถใช้สิทธิด้านการรักษาพยาบาลได้โดยใช้สิทธิของคนพิการตามระเบียบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หมายถึงการเด็กจะใช้สิทธิในการตรวจ รักษา ฟื้นฟู บำบัด ได้มากกว่าปกติ

แต่ต้องเข้าใจระบบการส่งต่อของหน่วยบริการที่ปรากฎอยู่ในบัตรทอง หรือสถานพยาบาลเฉพาะทางสำหรับเด็กพิการและโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลที่มีโรงเรียนแพทย์ (ได้แก่โรงพยาบาลใหญ่ใหญ่กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลที่อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วไประเทศบัตรทองสำหรับคนพิการเป็นชนิดบัตรที่มีรหัสขึ้นต้นด้วย ท 74XXXXXXXXXXXX ปรากฎอยู่ในบัตร และใช้เป็นหมายเลขตรวจสอบได้ ทุกสถานพยาบาล การรักษาฟื้นฟูความพิการจากสิทธิบัตรทอง มีมากกว่า 13 รายการ เช่นการตรวจวินิจฉัย การให้ยา การผ่าตัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด(การแก้ไขการพูดและฝึกพูด) จิตบำบัด ฯลฯ รวมไปถึงการได้รับกายอุปกรณ์ เช่น รถเข็น ไม้เท้า เครื่องฝึกเดิน สปินท์พยุงกระดูก รองเท้าพิเศษ และอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งที่สำคัญคือ เด็กจะต้องได้รับการตรวจประเมิน และให้ความเห็นจากแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ว่าควรจะใช้อุปกรณ์ชนิดใด เมื่อใด โดยมีนักกายภาพบำบัดช่วยฝึกการใช้ และประเมินผลการใช้อุปกรณ์เหล่านั้น เป็นระยะ ๆ สิทธิด้านการรักษาพยาบาลครอบคลุมการรักษาภาวะอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับความพิการ แต่ทั้งนี้ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางด้านนั้นๆ หากผู้ปกครองมีข้อสงสัย โปรดสอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 1330 (สายด่วนหลักประกันสุขภาพ ) และควรสอบถามก่อนไปใช้บริการ


ใบรับรองความพิการคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ใบรับรองความพิการ จะเป็นเอกสารที่แพทย์ระบุระดับ และประเภทของความผิดปกติ แนวทางการรักษาฟื้นฟู และให้ความช่วยเหลือเด็กแต่ละราย หลังจากนั้นผู้ปกครองต้องนำไปรับรองความพิการที่ออกโดยแพทย์ จากโรงพยาบาลรัฐบาล หรือโรงพยาบาลเอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้สามารถออกใบรับรองความพิการได้ (สอบถามจากหน่วยประชาสัมพันธ์ทุกโรงพยาบาลได้) ไปจดทะเบียนคนพิการ พร้อมด้วยหลักฐานเอกสารอื่น

จดทะเบียนคนพิการได้อะไร ต้องทำอย่างไร
การจดทะเบียนคนพิการ เป็นการลงทะเบียนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบว่า เด็ก หรือคนพิการคนนั้น ต้องได้รับการช่วยเหลือ และได้รับสวัสดิการที่จัดไว้เฉพาะสำหรับคนพิการ ตามระดับของปัญหา ความต้องการ และเพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานต่างๆ เพียงพอต่อการช่วยเหลือเด็ก และคนพิการ ซึ่งเป็นเรื่องรัฐบาลต้องดำเนินการ การจดทะเบียนคนพิการ นำมาซึ่งสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่นสิทธิในการได้รับสวัสดิการช่วยเหลือ เบี้ยยังชีพ เงินสงเคราะห์ครอบครัว สิทธิด้านการรับบริการด้านการศึกษาตามความเหมาะสมกับเด็ก แต่ละคน รวมไปถึงสิทธิในการรวมตัวเพื่อรวมกลุ่มครอบครัวในการจัดสวัสดิการเฉพาะกลุ่มซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตจำเป็นต้องมีข้อมูลทะเบียนคนพิการเพื่อการอ้างอิงในการรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ

ขั้นตอนการจดทะเบียนคนพิการ เริ่มจาก การเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการจดทะเบียน ได้แก่
สำเนาสูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก และพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง หากไม่ได้อยู่บ้านเดียวกันต้องเตรียมสำเนาทั้งของเด็กและผู้ปกครอง
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป (หรือจะเป็นรูปถ่ายที่เห็นหน้าชัดเจนเมื่อตัดให้ได้ขนาดประมาณ 1 นิ้ว กรณีไม่ได้ถ่ายรูปที่ร้าน)

ใบรับรองความพิการ
นำเอกสารหลักฐานไปติดต่อที่หน่วยจดทะเบียนคนพิการ ซึ่งอาจจะมีอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ที่เด็กไปรับบริการอยู่แล้ว หรือหากไม่มี ผู้ปกครองนำเอกสารไปติดต่อขอจดทะเบียนคนพิการ ในกรณีที่ท่านอยู่ต่างจังหวัด(รวมทั้งจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร) ติดต่อได้ที่ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), สำนักงานเทศบาล หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ท่านอาศัย แต่ถ้าท่านอยู่ในกรุงเทพมหานคร ไปติดต่อได้ที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ตั้งอยู่ในบริเวณกรมพัฒนาสังคม สะพานขาว เขตป้อมปราบ โปรดสอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 1300 (ศูนย์ประชาบดี)

หลังจากมีสมุดทะเบียนคนพิการแล้ว ผู้ปกครองควรพกพาติดตัว พร้อมสำเนาสุติบัตร และบัตรทอง ในกรณีต้องใช้แสดงสิทธิในการไปรับบริการจากหน่วยงานต่างๆ หากประสงค์จะได้รับความช่วยเหลือเรื่องสวัสดิการต้องแจ้งให้หน่วยงานที่รับจดทะเบียนได้ทราบ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง และควรอ่านคู่มือคนพิการที่หน่วยงานแจกให้พร้อมบัตรคนพิการโดยละเอียดเพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูล และเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ต่อไป

สิทธิด้านการศึกษา
ผู้ปกครองเด็กสมองพิการที่ยังอยู่ในช่วงวัย เด็กเล็ก อาจจะยังไม่ค่อยกังวลเท่าใดนัก แต่เด็กสมองพิการที่อายุ 3 ปี ขึ้นไป ผู้ปกครองจะเริ่มคิดถึงการศึกษาของลูก และเมื่อถึงอายุ 6 ขวบ ทางราชการมีจดหมายแจ้งให้นำลูกเข้ารับการศึกษา ผู้ปกครองจะเริ่มสับสนว่าลูกจะสามารถเรียนได้อย่างไร
ตามหลักการจัดสวัสดิการด้านการศึกษา เด็กทุกคนมีสิทธิในการรับการศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบการศึกษาที่หลากหลาย สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆ มีการจัดทำหลักสูตรสำหรับเด็กพิการแต่ละประเภท โรงเรียนเฉพาะประเภทความพิการ มีสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการอื่นๆ ที่ช่วยให้เด็กพิการสามารถเรียนได้ เป้าหมายของการศึกษาไม่ใช่วุฒิการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการศึกษาเพื่อให้เด็กพิการสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เรียนรู้สิ่งต่างๆ และวิธีการดำเนินชีวิตตามความสามารถของตนเองอย่างแท้จริง โดยได้รับความช่วยเหลือเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เด็กสมองพิการเข้าถึงสิทธิและบริการทางการศึกษาได้อย่างไร
ผู้ปกครองต้องนำตัวเด็ก และเอกสารที่เกี่ยวข้องการบำบัด รักษา ไปติดต่อขอขึ้นทะเบียน(ผู้เรียน)ได้ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด ทุกจังหวัด หากอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง ตั้งอยู่ในบริเวณ โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ดินแดง ทางศูนย์การศึกษาพิเศษมีกระบวนการคัดกรอง ประเมินความสามารถ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ตามระดับความสามารถ จัดทำโปรแกรมการเตรียมความพร้อมทางการเรียนรู้ โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล รวมถึงการส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนที่เหมาะสม โดยยึดหลักให้เด็กได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยมีความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการศึกษาพิเศษ หรือส่งไปเรียนในโรงเรียนเฉพาะประเภทความพิการ ซึ่งมีอยู่จำนวนน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนเด็กพิการ

ในปัจจุบันและอนาคต การศึกษาสำหรับเด็กพิการไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น แต่การรวมตัวกันของผู้ปกครอง สามารถจัดการศึกษาให้แก่เด็กๆ ได้โดยมีบุคลากรทางการศึกษาเป็นที่ปรึกษา รับการสนับสนุนอุปกรณ์ หลักสูตร และการประเมินผลจากกระทรวงศึกษาธิการได้ หากอายุเกิน 15 ปี เด็กก็สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษานอกโรงเรียนได้จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านท่านได้ หากท่านอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-247-4686

สิ่งสำคัญสำหรับเด็กสมองพิการและครอบครัว
อย่าเสียเวลาค้นหาว่าใครผิดที่ทำให้เด็กมีความพิการ แต่เริ่มต้นรักษาฟื้นฟู กระตุ้นพัฒนาการลูกให้เร็วที่สุด เพราะทุกนาทีสมองมีการเจริญเติบโต จำเป็นต้องหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับโรค อาการที่ลูกเป็น รวมไปถึงบริการ สวัสดิการสำหรับเด็กพิการ และข้อมูลที่ช่วยผู้ปกครองให้เลี้ยงดูลูกได้อย่างมีคุณภาพ จากแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากคำวินิจฉัย หรือการสนทนากับแพทย์ หรือนักบำบัด ในระยะเวลาสั้นๆแล้ว ผู้ปกครองจำเป็นต้องหาแหล่งข้อมูลที่ช่วยท่านได้ ซึ่งมีหลายแหล่ง เช่น โทรศัพท์สอบถามหน่วยงานต่างๆ ที่มีการประชาสัมพันธ์หมายเลข หรือสายด่วนต่างๆ ที่ช่วยเหลือประชาชน หนังสือในห้องสมุด หรือเอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กพิการ เวบไซด์ต่างๆ (ถ้าค้นหาเองไม่เป็นขอความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ ได้) หรือพูดคุยกับผู้ปกครองเด็กพิการอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ตรงเด็กทุกคนควรมีกุมารแพทย์ประจำตัว

เพื่อเป็นผู้ประสานในการตรวจวินิจฉัยเฉพาะด้าน และติดตามพัฒนาการเด็กในระยะยาว เด็กจะมีพัฒนาการดีขึ้นมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองนำโปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด และอื่นๆ มาฝึกในกิจวัตรประจำวัน ให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของครอบครัวอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง มิฉะนั้น การไปรับบริการจากโรงพยาบาล หน่วยงานต่างๆ จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ และยังก่อให้เกิดการหมดเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ และยังไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเด็กอีกด้วย การกระตุ้นพัฒนาการ การฝึกกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด ต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม หากฝึกมากไป เด็กและผู้ฝึกจะเหนื่อยล้าเกินไป และจะหยุดฝึกไปในที่สุด


การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง และสมาชิกครอบครัว อย่าคิดแทนเด็ก อย่าประเมินความสามารถในการรับรู้ และการเรียนรู้ต่ำ ต้องสื่อสารโต้ตอบเด็กอย่างเหมาะสม และสำคัญที่คือต้องเสริมความมั่นใจให้เด็กรู้สึกว่าเขาได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับลูกคนอื่นๆ ในครอบครัว ให้เขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ขณะเดียวกันเด็กคนอื่นๆ ต้องได้รับความรัก ความเอาใจใส่เช่นเดียวกัน ทุกคนมีบทบาท มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัวร่วมกัน

หากต้องการกำลังใจ คำแนะนำปรึกษา ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเด็กสมองพิการ และความช่วยเหลืออื่นๆ ติดต่อได้ที่
มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ 546 ซ.ลาดพร้าว 47 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
02-539-9706 , 02-539-9958, 02539-2916 ในเวลาทำการ
http://www.hoytakpoolom.org

ผู้ปกครอง และคนทำงานด้านเด็กพิการ มีเรื่องต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการเติบโตของลูกอีกมากมาย เป้าหมายของการเรียนรู้ คือการพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ได้สูงสุด แต่ความสำเร็จระหว่างทาง คือการได้เรียนรู้ และรู้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็กพิการต้องเคารพศักดิ์ศรีในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

บทที่ 09 มาทำอาหารของลูกให้ครบ 5 หมู่

ควบคุมการชัก ดี
โภชการการ ดี
กายภาพ ดี

ถ้าเราดูแล 3 เรื่อง ดี เด็กก็จะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น นั่นคือ
1. กายภาพดี : หมายถึง กายภาพอย่างพอเพียง ทุกข้อไม่ยึดติด เราสามารถสังเกต ได้ว่ากายภาพเพียงพอหรือเปล่าโดยดูจากร่างกาย ถ้านิ่มเหมือนเราคนปกติก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าจับแล้วตามร่างกายแข็งเหมือนท่อนไม้แสดงว่า ไม่เพียง

2.ควบคุมการชักได้ดี : หมายถึง ถ้าเด็กคนนั้นแม่กายภาพอย่างเพียงพอ แต่มีอาการชักเป็นระยะแสดงถึงอาการไม่ดี อยู่แล้ว ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะฉะนั้นต้องควบคุมการชักไม่ให้เกิดหรือถ้ามันจะเกิดก็ให้น้อยที่สุด เท่าที่เราจะทำได้

3.โภชนาการที่ดี : หมายถึงเด็กต้องได้รับอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อไปบำรุงเลี้ยงสมองส่วนที่ดีให้มีประสิทธิภาพซึ่งจริง ๆแล้วกการกินกับเด็กสมองพิการเป็นเรื่องยากอยู่พอควร


3 เรื่องใหญ่ เมื่อเราควบคุมได้อย่างดี...รับรองได้ว่า ชีวิตของลูก...มีอายุยืนได้แน่นอน

บทนี้ เรามาให้เรียนรู้ประสบการณ์เก่าๆ ของแม่ เรื่องการทำอาหารให้ลูก...ครบ 5 หมู่ กันดีกว่า

แรกเริ่มเดิมที ตั้งแต่ลูกหินยังไม่เจาะหน้าท้อง ลูกมีภาวะเกร็งที่บริเวณลำคอ เรารู้ได้อย่างไรว่าลูกเกร็ง
เห็นลูกลำสักทุกครั้งที่เราป้อนข้าวเค้า นั่นเป็นอาการเกร็งในลำคอที่มองไม่เห็น

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้คือ เมื่อลำลักมากๆ อาจลงไปที่ปอดได้ ปอดก็จะบวมและเป็นโรคปอดบอม ซึ่งต้องเข้าไปรักษากันในโรงพยาบาลอีก
ดังนั้นถ้าเด็กคนไหนยังไม่เจาะท้องต้องระวังเรื่องการลำลัก ....เด็กพิการเวลาเสียชีวิต ส่วนใหญ่ไม่ใช่มาจากโรคสมองพิการ
แต่เป็นภาวะของโรคที่แทรกซ้อนเข้ามามากกว่าเช่น เรื่องปอดบวม เป็นต้น

ดังนั้นข้าว ควรมีลักษณะนิ่น และไม่เหลวจนเกินไป เพราะย่ิงเหลวเป็นน้ำ การลำลักก็ยิ่งมากขึ้น ในอดีตแม่ใช้วิธีตุ๋น

บันทึกการกินข้าวของลูกหิน เมื่ออายุ 3 ขวบ

food before 1.jpg


food before 2.jpg


3.jpg


food before 4.jpg


food before 5.jpg


food before 7.jpg


food before 6.jpg





เวลาป้อน ให้ป้อนคำเล็กๆ
food before 8.jpg




ควรกระตุ้นการกลืน ด้วยการนวดบริเวณแก้มทั้งสองข้าง
food before 9.jpg



food before 10.jpg


food before 11.jpg

• แบรนด์เด็ก ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถบำรุงลูกได้เช่นกัน แต่ข้อเสียคือต้องระวังเรื่องสำลักลงปอด
• นม พีดีชัวร์...เป็นแหล่งที่ได้อาหารครบ 5 หมู่เหมือนกัน แต่ข้อเสียคือราคาแพงไปหน่อย

พอหลังจากลูกหินกินไป สำลักไป ก็เป็นโรคปอดบวม โดยปริยาย
1 ปีเป็นปอดบวม 3-4 ครั้ง ซึ่งถือว่าเยอะพอสมควร (ยังไม่รวมโรคอื่น)

ครอบครัวเราจึงตัดสินใจเจาะท้องเพื่อช่วยลูกไม่ทรมานในการกินข้าว เพราะสมองส่วนควบคุมการกิน เริ่มควบคุมไม่ถึง
หลายคนอาจสงสัยว่าตอนเด็กๆ ทำไมกินได้ แต่พอตอนโตทำไมถึงกินไม่ได้?

เพราะตอนเด็กสมองส่วนควบคุมการกิน ยังสามารถทำงานมีประสิทธิภาพอยู่ เมื่อร่างกายโตขึ้น แต่สมองไม่โตตาม
ทำให้การควบคุมเริ่มถอยลง เหมือนเป็นมากขึ้น ความจริงไม่ใช่ แต่เป็นเพราะสมองของลูกไม่โตตามตัวต่างหาก
ซึ่งคุณหมอก็ได้บอกกับแม่ ตั้งแต่แรกแล้วว่า ลูกจะไม่มีพัฒนาการอะไรเลย เพราะหินปูนเกาะสมองทุกส่วน

ดังนั้นจึงต้องช่วยลูกโดยการเจาะท้อง พอหลังจากเจาะเราจึงต้องเรียนรู้การทำอาหารใหม่ โดยมีส่วนประกอบและขั้นตอน
ตามร.พ.สอนมาดังนั้น
1. ใส่ข้าวสุก + ไก่ +ผักใบเขียว นำไปต้มรวมกัน ให้สุก ซื้อได้จากตลาดสดทั่วไป

food-1.jpg



2. เติมแคลเซี่ยม 1 ถุง (2กรัม) ซื้อมาจากร.พ.รามาธิบดี
food-2.jpg


3. เติมน้ำตาลเด็กซ์ตริน 1 ช้อนโต๊ะ ซื้อมาจาก ร.พ.รามาธิบดี
food-3.jpg


4. เติมน้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ซื้อได้จากตลาดสดทั่วไป
food-4.jpg


5. ใส่นมโอแลค 12 ช้อนตวง ซื้อได้จากสรรพสินค้าทั่วๆไป
food-5.jpg


6. ใส่เทรด 9 CC และ ซิงค์ 4 CC ซื้อได้จากร.พ. รามาธิบดี
food-6.jpg

7. นำเอาไก่ + ข้าวสุก + ผัก ต้มรวมกันให้สุก
food-7.jpg

8. เอาไปแช่ในน้ำเย็น ก่อนปั่น เพราะเครื่องปั่นอาจเสียได้ถ้าเรานำไปปั่นของร้อนทันที
food-8.jpg

9.จากนั้นนำส่วนผสมทุกอย่างตามที่บอกเบื้องต้น ใส่รวมกันแล้วปั่น
food-9.jpg

10. ปั่นทุกอย่างรวมจนเป็นเนื้อเดียวกัน
food-11.jpg

11. จากนั้นเติมน้ำรวมกันแล้วให้ได้ 600 CC แบ่งเทใส่ 4 ขวดนม
food-13.jpg

12. นำไปฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ด้วยการนึ่ง เป็นขั้นตอนสุดท้าย
food-14.jpg

13. นำไปนึ่ง ในซึ้ง 30 นาที เป็นอย่างน้อย และหลังจากนึ่ง ห้ามเปิดขวด...จนกว่าจะให้ลูกกิน
food-15.jpg

14. เสร็จแล้วนำไปแช่ด้วยน้ำเย็นจนขวดนมเย็น แล้วเอาเข้าตู้เย็นทันที
food-16.jpg

เมื่อจะกิน ก็ให้เปิดทีละขวด

ช่วงแรกๆ ครอบครัวของเราปรับตัวมากพอสมควร ต้องวิตกกังวลหลายอย่าง ทั้งเรื่องอาหารที่ต้องเรียนรู้ใหม่ ทั้งเรียนการทำความสะอาดแผลหน้าท้อง...แต่ปัจจุบันชีิวตของเราง่ายขึ้น ลูกหินป่วยน้อยลงเพราะเค้าได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ ภาวะเรื่องปอดบวมลดลงแทบไม่มีเลย ลูกเจาะท้องมาทั้งแต่ ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน